วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เร่งดอกมะลิฤดูหนาว การดูแลต้นมะลิ ปลูกมะลิดอกเยอะ น้ำหนักดี

https://www.facebook.com/malidokraksingburi

https://www.facebook.com/malidokraksingburi

https://www.facebook.com/malidokraksingburi

https://www.facebook.com/malidokraksingburi

https://www.facebook.com/malidokraksingburi

https://www.facebook.com/malidokraksingburi


https://www.facebook.com/malidokraksingburi

https://www.facebook.com/malidokraksingburi


เทคนิคปลูกมะลิให้งามอย่างไร้สารพิษ

ใคร ที่เคยมีความคิดผิด ๆ ที่ว่า จะปลูกมะลิให้ดกให้งามต้องใช้ทั้งปุ๋ยและสารเคมี เห็นทีจะต้องล้มเลิกความคิดนี้ เพราะมีเกษตรกรท่านหนึ่งประสบความสำเร็จจากการผลิตมะลิในเชิงการค้าโดยไม่ ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีเข้ามายุ่งเกี่ยวแม้แต่น้อย แต่มะลิก็ดกและงอกงามดีเป็นที่ต้องการของตลาด 


การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1.
เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2.
การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมน IBA [Indole Butyric Acid] และ NAA [Naphthalene Acetic Acid] ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4,500 ppm
3.
นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำและสารกันรา เช่น แคปแทน และสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน
4.
รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
5.
หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป

ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด
เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้สารเคมีป้องกันราราด หรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำด้วย

การปลูก
ควรจะปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ

นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม
มะลิ ชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก

การดูแลรักษา

1.
การกำจัดวัชพืช ปกติชาวสวนนิยมใช้กรัมม๊อกโซนฉีดตามร่องปลูกทุกเดือน โดยไม่ให้โดนต้นมะลิ

2.
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยการหว่านและรดน้ำตามด้วย

3.
การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนาน ๆ แล้วมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่ทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งและตายออกด้วย จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคและแมลงลดน้อยลง มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกมากขึ้น พร้อมทั้ง จะช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวกในการปฏิบัติงานอีกด้วย

4.
การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้งหรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาน ๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้

โรคที่สำคัญ
1.
โรครากเน่า
เกิด จากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เxxx่ยว และทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
-
เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน
-
ถ้าระบาดทั่วสวน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก่อนประมาณ 4-5 ปี
-
ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก

2.
โรคแอนแทรกโนส
เกิด จากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลมหรือถูกฝนชะล้าง
การป้องกันกำจัด
ทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45

3.
โรครากปม
เกิด จากไส้เดือนฝอย โรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น คือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วทั้งใบ คล้ายกับอาการขาดธาตุอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้ เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ามีรากปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมนี้ออกดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่
การป้องกันกำจัด
-
ปลูกมะลิหมุนเวียนสลับกับพืชชนิดอื่น ๆ
-
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น
-
ขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาไฟทำลายเสีย
-
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวย์เดท-แอล