พ่อค้าแม่ค้าสมัยนี้ก็แปลก
ลูกค้าถามราคาเท่าไหร่ ก็มักจะตอบว่าให้อินบอกซ์(IN BOX)ทุกที ทำไมไม่บอกราคาหน้าโพสไปเลย คนอื่นที่เขาสนใจสินค้าเขาก็ได้เห็นด้วยไปเลย
ไม่ต้องมานั่งตอบลูกค้าทุกคนๆ มันก็แปลกดีเนอะ ขายของกันประหลาดๆ หรือว่าลูกค้าแต่ละคนได้ราคาไม่เท่ากัน อยู่ที่ความพอใจ? หรือยังไง? งงๆ
ตอบ:ตาม ที่เคยขายของในเฟสนะ
ครือที่ไม่แจ้งราคาหน้าร้าน สินค้ามันราคาไม่นิ่ง วันนี้อีกราคา
อาทิตย์หน้าอีกราคา และการอินบ็อก(IN BOX)สามารถที่จะต่อรองราคากันได้เป็นรายๆไปครับ
ตอบ:ส่วน ตามเฟส/เพจ
ที่ไม่ลงราคาไว้ เพราะเดี๋ยวนี้สรรพากร ลงตรวจสอบ/ประเมินรายได้จากพ่อค้า/แม่ค้าในเพจ/เฟส
แล้วครับ เพื่อเรียกเก็บภาษีครับ
'มะลิวันแม่'มหันตภัยสารพิษแฝง! ปลูกในอดีตจะแบบนี้ แต่ปัจจุบันสวนมะลิบางระจันควบคุมการผลิตโดยบริษัทป.เคมีภัณฑ์ จำกัดได้ควบคุมอย่างเคร่งครัดแล้ว
เปิดโปง 'สารพิษ' ใน 'ดอกมะลิ' สัญลักษณ์วันแม่ 'มหันตภัย' ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ บุกนครชัยศรี จ.นครปฐม แหล่งปลูกมะลิดอกไม้เศรษฐกิจสัญลักษณ์วันแม่
เปิดเบื้องหลังแห่งความความรักความห่วงใย ที่มีมหันตภัยจากยาฆ่าแมลง
ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเคลือบอยู่ เกษตรกรยอมรับ ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต
ก่อนส่งลำเลียงสู่ตลาด โดยอ้างว่า ต้านแมลงศัตรูพืชไม่ไหว
บนกลีบขาวและหอมของ ‘ดอกมะลิ’ ที่ถูกมนุษย์นำไปร้อยรัดกับ ‘วันแม่’ คือด้านที่สวยงามของดอกไม้
แต่อีกด้านของความขาวและหอม ที่ร้อยรัดกับชีวิตจริงของเกษตร มะลิคือดอกไม้เศรษฐกิจ
ที่มีวงจรชีวิตอบร่ำด้วยสารเคมีจำนวนมาก แต่ด้วยมะลิไม่ใช่ผักผลไม้
ที่ประชาชนหยิบเข้าปาก ทั้งยังมีอายุการใช้งานแสนสั้น
การตรวจสอบระแวดระวังความปลอดภัยและพิษตกค้าง จึงไม่มีใครหรือหน่วยงานไหนวิตกกังวล
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สวนมะลิของไทยออกดอกเป็นเงินเป็นทองจากการส่งออกในปี 2553 ทั้งในรูปต้น ดอก และพวงมาลัย มีมูลค่า 3,711,854 บาท
บุกนครปฐมแหล่งปลูกใหญ่ใกล้กรุง
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะลิประมาณ 6,900 ไร่ โดยมีแหล่งปลูกใหญ่อยู่ที่จังหวัดนครปฐม
ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอนครชัยศรี โดยเฉพาะที่นครชัยศรี
พ่อค้าแม่ค้าปากคลองตลาดจำนวนหนึ่งยอมรับว่า ดอกมะลิมีคุณภาพดีกว่าแหล่งอื่นๆ
ด้วยดอกที่แข็งและหอมกว่า
นครชัยศรีจึงเป็นพื้นที่ที่เราเลือกเพื่อค้นหาคำตอบว่า
มะลิแต่ละดอกผ่านสารเคมีมากน้อยแค่ไหน กว่าจะถึงมือผู้ซื้อ
จากปากคำของเกษตรกรตัวจริงเสียงจริง
จิระวัฒน์
กรรัตนวิเชียรนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
สำนักงานเกษตรอำเภอนครชัยศรีได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า
แหล่งปลูกมะลิใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอเมืองนครปฐม
ส่วนในอำเภอนครชัยศรีพื้นที่ปลูกมะลิส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางพระ ตำบลวัดละมุด และตำบลดอนแฝก
โดยแต่ละตำบลมีพื้นที่ปลูกมะลิประมาณ 101 ไร่, 123 ไร่ และ 100 ไร่ ตามลำดับ ให้ผลผลิตประมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน โดยระดับราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีตกที่ 100 บาทต่อลิตร (ประมาณ 7 ขีด)
ลัดเลาะไปตามถนนสายเล็กๆ
ของตำบลบางพระ จุดหมายปลายทางคือสวนดอกมะลิเนื้อที่ 6 ไร่ของ นายวิรัตน์ ปักษาสุขวัย 57 เขาเป็นเกษตรกรที่ปลูกดอกมะลิมานานกว่า 20 ปี
วิรัตน์
เล่ากระบวนการจากผืนดินว่างเปล่าจนถึงการงอกงามเป็นดอกมะลิว่า
เริ่มต้นจะต้องทำการเตรียมพื้นที่โดยการจ้างรถแบ็คโฮทำการยกร่องเพื่อปลูกและตากดินให้แห้ง
“ต้องตากดินให้แห้ง ให้สุก ถ้าทำดินไม่ดี
ปลูกแล้วรากไม่ไป รากไม่งาม เราตากดินดีๆ มันจะร่วน สุก เราจะรู้
เตรียมดินยังไม่ต้องใส่ปุ๋ย จะทำก็เอาพวกขี้หมู ขี้ไก่ มาใส่”
จากนั้นจึงนำกิ่งชำที่เตรียมไว้มาปลูก
เป็นกิ่งชำที่ซื้อจากคนทำกิ่งพันธุ์อีกต่อหนึ่ง ราคาประมาณกิ่งละ 3 บาท สำหรับเนื้อที่ 6 ไร่ เขาลงทุนค่ากิ่งชำไปหมื่นกว่าบาท
ซึ่งนับว่าคุ้มเพราะลงครั้งเดียวอยู่ไปได้หลายปี และในช่วงเยาว์วัย
มะลิยังไม่ต้องการการดูแลที่พิถีพิถันมากนัก เพียงคอยรดน้ำและให้ปุ๋ย
แต่เมื่อผ่านไป 6-8 เดือน
มะลิเริ่มโตและให้ผลผลิตพร้อมจะเก็บขายวันใด หมายความว่าเงินจำนวนไม่น้อยจะถูกดึงออกจากกระเป๋าเกษตรกรให้หมดไปกับค่าสารเคมี
แบกต้นทุนยาฆ่าแมลงปีละ5 แสน
‘หนอนเจาะดอก’คือศัตรูร้ายกาจที่สุดของดอกมะลิที่ทำให้โรคและศัตรูพืชอื่นๆ
เป็นแค่ตัวประกอบที่ไม่สลักสำคัญเท่า การไม่ป้องกันแต่เนิ่นๆ หรือนิ่งนอนใจอาจหมายถึงหายนะของดอกมะลิชุดนั้นๆ
และรายได้ที่โดนหนอนกัดกิน เป็นประสบการณ์ที่ สถาพร โพธิ์อำพร
ชาวสวนมะลิอีกคนหนึ่งเคยพบเจอมาแล้ว
อันเป็นที่มาของต้นทุนค่าสารเคมีจำนวนมาก...ที่ยังไม่นับต้นทุนชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่วัดได้ยากกว่า
“ปีหนึ่งผมจ่ายค่ายาประมาณสี่ห้าแสน
ฉีดวันเว้นวัน ปีหนึ่งขอได้เท่าค่ายาก็พอแล้ว”
คือต้นทุนค่ายาปราบหนอน ที่ วิรัตน์
บอกกับเรา
“ส่วนมากใช้ยา 35 เปอร์เซ็นต์ เลนเนต ปนกับอาร์กิแม็ก มันต้องดูแลเยอะ
ยาตัวไหนดีก็ต้องเอามาใช้กัน ยาขวดหนึ่งแพงด้วยนะ ขวดนิดเดียวแปดเก้าร้อย
ไม่ถึงลิตร 35 เปอร์เซ็นต์ขวดละ
300 กว่าบาท ใช้ประมาณ 3 ขวด อย่างละขวด ขวดเล็ก 3 ขวด ขวดใหญ่ 1 ขวด หางยา (ยาอ่อน
ราคาถูก) อีก 2 ขวด ขวดละ 150 บาท ฉีดครั้งเดียวหมดเลย เราก็เปลี่ยนยาอยู่เรื่อยๆ สี่ร้อยบ้าง
ห้าร้อย หกร้อย แปดร้อยบ้าง ปีหนึ่งผมใช้ยาประมาณสี่ห้าแสน ฉีดแต่ละครั้งประมาณ 2 พันกว่าบาท”
ข้อมูลจากปากเกษตรกรดูจะขัดแย้งกับข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่บอกว่า ต้นทุนการผลิตมะลิต่อไร่ต่อปีอยู่แค่ประมาณ 57,000 บาทเท่านั้น
สถาพร ปลูกมะลิมาประมาณ 5 ปี บนเนื้อที่ 5 ไร่
เขายอมรับเช่นกันว่า ต้นทุนที่แพงที่สุดของการทำสวนมะลิคือปุ๋ยกับยา
“ยาตามท้องตลาดที่ซื้อมา ฉีดแล้วศัตรูพืชก็ไม่ตายนะ
คือรัฐบาลเขาคุมยา บางคนก็เลิกกันหมด นี่อาศัยว่าใส่ยามาก
สมมติว่าที่ฉลากเขียนว่าใส่ยา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แต่ถ้าใช้ตามที่เขาบอกนี่หนอนไม่ตาย เราก็ใส่ 2 เท่า ถึงจะอยู่ เพราะถ้ายาอ่อนๆ
แล้วเอาหนอนไม่อยู่ต้นทุนค่ายาปีหลายแสน เดือนหนึ่งก็สามสี่หมื่น
อย่างที่บ้านนี่จะฉีดยาน้อยกว่าคนอื่นเขา ผมใช้เครื่องสะพายหลังฉีด
มันก็จะเปลืองยาน้อยกว่า ผมฉีดครั้งละพันเพราะผมใช้ประหยัดยาบางครั้งต้องฉีดทุกวัน
อย่างวันแม่มะลิต้องแพงแน่ๆ ก็จะเตรียมการลงทุนมากๆ บางทีลิตร 400-500 บาท ต้องกล้าลงทุนค่ายา”
ใช้หลายยี่ห้อผสมสู้แมลง
เนื่องจากประสิทธิภาพของสารเคมีต่ำลงในความรู้สึกของเกษตรกร
หนำซ้ำยังมีราคาแพงขึ้น
ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องแบกรับต้นทุนสูงขึ้นโดยใช้สารเคมีหลายตัวผสมกันและใช้มากกว่าที่ฉลากกำหนด
และแต่ละรายก็จะมีสูตรในการผสมของตนเองซึ่งมักไม่ค่อยบอกกัน แต่จะยึด ‘ความแรง’เป็นหลัก คือฉีดทีเดียวหนอนต้องตาย
ขณะเดียวกัน
สถานการณ์ทำนองนี้ก็เป็นช่องทางให้เกิดการจำหน่ายสารเคมีผิดกฎหมาย
เพราะเกษตรกรต้องการยาที่แรงกว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด สถาพรเปิดเผยว่า
“อย่างบริษัทยา เขามาดู เอายามาฉีด ถ้ามันอยู่
เขาก็จะทำยาของตัวเอง เหมือนเป็นยาที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ฉีดแล้วมันแรง หนอนตาย
แต่บริษัทก็ฉลาด ทำอ่อนลง คนก็เลิกใช้ มันจะดีแค่ครั้งสองครั้ง
แต่ก็ไม่ใช่พวกบริษัทโดยตรง เหมือนเป็นพวกเซลล์เอามาขายเอง ไม่ผ่านบริษัท
แล้วเราก็ซื้อจากเซลล์ บางทีเราก็เลิกซื้อเพราะเอากำไรมากไปคือเรารู้ ฉีดดู
นี่ยาอ่อน ก็เลิกซื้อ
ตอนนี้ไม่มีแล้ว
มีบริษัทใหม่เข้ามาดู ปกติตอนนี้ผมไม่ได้ซื้อยาพวกนั้นแล้ว จะซื้อยาที่เขาควบคุม
ที่ขายตามท้องตลาด แต่อาศัยว่าใช้มาก อย่างยาที่บริษัทส่งมาหรือเซลล์มาขาย
บางทีก็หายไปนานๆ มาที เราก็ไม่มียาฉีด เราก็ต้องซื้อตามท้องตลาดนี่แหละ
อาศัยว่าใส่เยอะๆ”
จากการขอดูขวดบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
พบว่า สารเคมีบางตัวระบุเพียงยี่ห้อ ‘โปร-แม็กนั่ม’ประโยชน์ วิธีใช้
และวิธีการเก็บรักษาเท่านั้น ซึ่งขัดต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะต้องระบุ ชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์, ชื่อสามัญ,ชื่อวิทยาศาสตร์ของสารสำคัญ, อัตราส่วนผสมและลักษณะของผลิตภัณฑ์, ประเภทการใช้, ประโยชน์ วิธีใช้
วิธีเก็บรักษา พร้อมคำเตือน, อาการเกิดพิษ
การแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำให้ไปพบแพทย์พร้อมฉลาก และคำแนะนำสำหรับแพทย์ (ถ้ามี), ชื่อผู้ผลิตและชื่อผู้จำหน่าย สถานที่ตั้งทำการ โรงงาน, ขนาดบรรจุ, เดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุการใช้
(ถ้ามี), เลขทะเบียนวัตถุอันตราย
และเครื่องหมายและข้อความแสดงคำเตือนให้ระมัดระวังอันตราย
“ขวดเล็ก (โปร-แม็กนั่ม) 250 ซีซี นี่เขาว่าเป็นหัวยา เขาว่าบางทีหนอนลงฉีดไม่ตาย
แต่แมลงไม่เข้าสวน มันระคายอะไรของมันก็ไม่รู้ ก็เลยต้องเอามาบวกกัน ใส่ในถังเดียว
คนๆๆ ซัดเลย ขวดละ 500 ใช้ครั้งเดียว
เดือนหลายขวด นี่สวนเล็กนะ สวนใหญ่ใช้มากกว่านี้อีก”สถาพร กล่าว
ฝนตกต้องฉีดซ้ำ
วิรัตน์ บอกว่า
ถ้าหนอนลงเยอะก็จะใช้หัวยาตัวนี้แบบไม่ผสมอะไรเลย เขาถึงกับบอกว่า
ถ้าไม่ได้ตัวนี้ก็เอาหนอนไม่อยู่ด้วยต้นทุนค่ายานับแสนบาทต่อปี
การเก็บมะลิขายแต่ละรอบบางครั้งก็ได้กำไร บางครั้งก็ขาดทุน
เอามาหักกลบกันแม้จะไม่ถึงกับทำให้ร่ำรวย แต่ก็ถือว่ามีกำไรพอสมควร
และยิ่งเข้าใกล้วันแม่เช่นนี้
ปริมาณดอกมะลิที่ผลิตได้มีจำนวนไม่มากทำให้ราคาเคยพุ่งสูงถึงลิตรละ 500 บาท ช่วงก่อนถึงวันแม่ประมาณ 1 เดือน จึงเป็นช่วงที่เกษตรกรจะทำการ ‘หวด’หรือริดยอดต้นมะลิออกเพื่อให้แตกยอดออกดอกชุดใหม่พอดีกับช่วงวันแม่
ผลพวงจากรายได้ที่รออยู่เป็นเหตุให้ช่วงเวลานี้เกษตรกรจะต้องประคบประหงมดอกมะลิในสวนด้วยการระวังหนอนเจาะดอกเป็นพิเศษ
ซึ่งหมายถึงปริมาณสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นย่อมมากขึ้นตามไปด้วย
แต่ก็ต้องคอยภาวนาไม่ให้ฝนตกลงมาชะยาที่เพิ่งฉีดไป
ทั้ง “วิรัตน์” และ “สถาพร” ล้วนเคยผ่านประสบการณ์ฝนฟ้าไม่เป็นใจ
ยาที่หวังจะฆ่าหนอนหายไปกับสายฝน
วันรุ่งขึ้นก็ต้องฉีดซ้ำก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ บางครั้งการฉีดยาตอนเช้า
ตอนเย็นเก็บ ตอนดึกขายที่ปากคลองตลาด ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น
คงเห็นแล้วว่า
กว่ามะลิสักดอกจะเดินทางจากสวนมาถึงปากคลองตลาด
และถูกส่งผ่านถึงมือผู้บริโภคในวันสำคัญอย่างวันแม่ (หรือวันไหนๆ)
จะต้องผ่านสารเคมีปริมาณมากเพียงใด
ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลือกมากนักทั้งผู้บริโภคและเกษตรกร?
..............
รู้จักดอกมะลิ
มะลิ เป็นพืชในสกุล Jasminumวงศ์ Oleaceaeมีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้รอเลื้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 200 ชนิด โดยพืชตระกูลมะลิเป็นไม้พื้นเมือง ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 25 ชนิด บางชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาคของประเทศ
แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้รอเลื้อย
กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน มีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม
ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสีขาว ช่อละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน มีกลิ่นหอม
มะลิลาที่เป็นพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
และพันธุ์ชุมพร (ข้อมูลจากหนังสือ ‘เทคโนโลยีการผลิตมะลิ’สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร)
ดอกมะลิกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่เมื่อคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรัฐบาลได้กำหนดให้วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม
เป็นวันแม่แห่งชาติ เมื่อปี 2519 อีกทั้งยังกำหนดให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
แทนความหมายของความรักที่บริสุทธิ์