การเพาะดาวเรืองอย่างรวดเร็วด้วยการปักชำไวกว่าเพาะด้วยเมล็ดดาวเรือง
ปลูก ‘พืชใช้นํ้าน้อย’ หลังฤดูทำนาลดความเสี่ยง เสริมรายได้เกษตรกร | เดลินิวส์
„กจากใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคแล้วยังใช้ในการเกษตรกรรมด้วย ยิ่งภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในช่วงฤดูแล้งจึงเป็นอีกทางเลือกช่วยให้เกษตรกรปลูกพืชผลการเกษตรต่อไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ พืชที่ใช้น้ำน้อย ปลูกหลังฤดูทำนามีหลายชนิดที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านการตลาด บางชนิดช่วยปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ก่อนถึงการปลูกข้าวในฤดูที่จะมาถึง อาจารย์ปาริชาติ พรมโชติ ภาควิชาพืชไร่ นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า การทำนาของเกษตรกรมีทั้งการทำนาปีและนาปรัง นาปี คือนาที่ทำในช่วงฤดูฝนซึ่งช่วงเวลาทำนาในแต่ละภูมิภาคจะไม่ต่างกันมากขึ้นอยู่กับว่า จะเลือกทำนาลักษณะใด นาปักดำ นาหว่านเมล็ด หรือหว่านต้นกล้า ถ้าทำนาดำจะมีเวลาเตรียมกล้าก่อน เช่น ทางภาคเหนือ อีสานบางพื้นที่ซึ่งยังคงทำนาดำอยู่ ก็จะเริ่มเตรียมกล้านับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะเริ่มปักดำในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม สิงหาคม สิ้นสุดก็ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมขึ้นอยู่กับการปลูกช้าหรือปลูกเร็วของเกษตรกร ซึ่งแต่ละที่ฝนจะมาไม่พร้อมกัน แต่โดยส่วนใหญ่ช่วงเวลาของการทำนาอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม มิถุนายนกระทั่งถึงพฤศจิกายน ซึ่งบางท้องที่อาจเก็บเกี่ยวช้าออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว สภาพอากาศฝนมาช้าหรือเร็วเช่นกัน“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/218323