วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559

ปลูกมะลิปลอดสารพิษณ.บางระจัน-สิงห์บุรีส่งนอก195ประเทศ สร้างรายได้ดีเข้าประเทศไทย


    คุณประจบ เมืองมั่น หรือ คุณเฉิน ที่ทำสวนมะลิปลอดสารพิษ ปลูกมะลิเพื่อเด็ดดอกขายเป็นวัตถดิบชามะลิ ในพื้นที่ ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โทรศัพท์/ไลน์ 0879181778  ซึ่งจังหวัดสิงห์บุรีเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้ชื่อว่า มีการปลูกมะลิทั้งจังหวัดสิงห์บุรีมากกว่า 50,000 ไร่(อนาคตไม่นานนี้จะทยอยปลูกและส่งเสริมชาวบ้าน)

   คุณประจบ เมืองมั่น หรือ คุณเฉิน เล่าว่า เริ่มปลูกมะลิในปี 2558 เดิมตนเองและครอบครัวมีอาชีพปลูกข้าวขายมาก่อน แต่จากการคำนวณต้นทุนการผลิตและรายได้แล้ว ตลอดระยะเวลาการปลูกข้าวขาย กำไรเหลือไม่มาก ต่อมาเมื่อได้รับคำแนะนำให้ปลูกมะลิจากเว็ปต่างประเทศว่า ปลูกมะลิ เพื่อเด็ดดอกขายเป็นวัตถุดิบชามะลิรายได้ดี จึงปรับเปลี่ยนแปลงนาข้าวเดิมปลูกมะลิทันที 20 ไร่ ทั้งที่ไม่มีความรู้ในการจัดการสวนมะลิปลอดสารพิษมาก่อน คุณประจบ เมืองมั่น หรือ คุณเฉิน เล่าว่า มะลิปลอดสารพิษเป็นไม้ที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ต้องทราบระยะของการให้ปุ๋ย การฉีดยาชีภาพ ไม่อย่างนั้นจะทำให้ดอกมะลิไม่ได้ผลผลิตที่ดีและขายได้ตามต้องการ

    คุณเฉิน และครอบครัวถือเป็นเกษตรกรตัวอย่าง ที่มีแนวคิดการสร้างรายได้จากการขายดอกมะลิครบวงจร ซึ่งปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ปลูกจากเดิม 20 ไร่ ในพื้นที่ ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ปลูกเพิ่มอีก 50 ไร่แต่ละปีมีเป้าหมายขยายพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่องให้ครบ5หมื่นไร่ที่ตั้งใจไว้ มีสภาพเป็นดินเหนียว แม้มะลิจะเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่เป็นดินเหนียว ดินร่วน และดินทรายก็ตาม แต่หากพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่มน้ำ อาจเกิดน้ำท่วมในฤดูฝน ก็ควรปลูกแบบยกร่อง เพื่อให้ต้นมะลิอยู่สูงพ้นน้ำ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวน้ำท่วมไม่ถึง แต่การยกร่องก็จะช่วยให้การระบายน้ำทำได้ดี

   
คุณเฉินเช่าแผงค้าดอกมะลิและไม้ดอกอื่นๆ สำหรับร้อยมาลัยที่ปากคลองตลาด ซึ่งตลาดปากคลองตลาดเป็นตลาดค้าดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เพื่อเป็นจุดถ่ายดอกไม้ทั้งปลีกและส่ง โดยจำหน่ายในราคาเต็ม ไม่ต้องถูกหักจากแม่ค้าหรือพ่อค้าที่รับซื้อหน้าสวน คุณเฉินได้ตัดสินใจทุมงบโฆษณาทุกช่องทาง เดือนละ 1แสนบาท โปรโมชั่นแจกรถเบนซ์ บ้าน มือถือ ทอง ครบวงจร
    คุณเฉินเล่าว่า รายจ่ายที่มากที่สุดสำหรับการปลูกมะลิปลอดสารพิษมีหลักๆ คือ ค่ายาชีวภาพและค่าแรงงานในการเก็บดอกมะลิขั้นต่ำกิโลละ50บาท อย่างค่ายาชีวภาพซึ่งจำเป็นต้องใช้ในทุกระยะที่มีแมลง รบกวน เพราะดอกมะลิเปราะบางมาก โดยเฉพาะหนอนเจาะดอก ที่เมื่อถูกทำลายหรือเกิดการระบาด ก็ต้องทิ้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และค่าใช้จ่ายที่สูงมากอีกประการคือ ค่าแรงเด็ดดอกมะลิ ที่จะจ้างแรงงานเก็บในราคากิโลกรัมละ 50 บาท จะได้มากได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและความขยันของแรงงาน แต่ในการเก็บดอกมะลิให้ได้จำนวนมากก็ต้องใช้แรงงานเด็ดดอกในคราวเดียวพร้อม กัน อย่างน้อย 7-10 คน จึงจะพอสำหรับการเด็ดดอกขายในแต่ละวัน ดังนั้น การบริหารจัดการสวนมะลิจะต้องดีพอสมควร

     ค่ายาชีวภาพอธิบายว่า สวนมะลิที่อำเภอบางระจันทั้งอำเภอต้องยกร่องเท่านั้น จะปลูกแบบยกร่อง เพราะสภาพดินเป็นดินเหนียว การปลูกแบบยกร่องจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้มะลิถูกน้ำท่วมขังน้อย และลดปัญหาโรครากเน่าของมะลิลง คุณเฉิน บอกว่า มะลิ เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำแฉะ หากทำให้การระบายน้ำในดินที่ปลูกได้ดีแล้ว จะไม่มีปัญหารากเน่า อีกทั้งต้นมะลิจะไม่แกร็นและเหลือง
     การปลูกมะลิแบบยกร่อง แต่ละร่องห่างกันราวๆ 4 เมตร  หรือทุกร่อง แปลงคุณเฉินจะปลูกมะลิไว้ 2 แถว จะใช้ระยะปลูกไม่ถี่มาก เพื่อให้ได้จำนวนต้นมะลิที่มากต่อร่อง ทำให้จำนวนต้นมะลิต่อไร่ อยู่ที่ประมาณ 1,000 ต้น และเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นอีกด้วย เพราะต้นมะลิเมื่อโตจะร่ม ทำให้หญ้าวัชพืชขึ้นไม่มากนัก ในตอนนั้นคุณเฉินเล่าว่าได้ซื้อต้นกล้ามะลิมาในราคา ต้นละ8บาท(พันธุ์นำเข้า หอมกว่า) ก่อนปลูกขุดหลุมรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกเก่า ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเม็ดชีวภาพตามที่จะหาได้สะดวก ในระยะแรกของการปลูกมะลิจะเน้นเรื่องของการเจริญเติบโตของต้น หลังนำกล้ามะลิลงปลูก ควรรดน้ำเพียงอย่างเดียว วันเว้นวัน สังเกตดูดินไม่แฉะมาก ฤดูฝนงดให้น้ำ  
      ทุกเดือนหลังลงปลูกให้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีที่มีตัวหน้า (ไนโตรเจนสูง)เช่น ปุ๋ยเคมี สูตร 21-3-3 เมื่อต้นมะลิโตเริ่มออกดอกให้ผลผลิต ก็จะเปลี่ยนมาให้ปุ๋ยเคมี สูตร 18-40-5 หรือ 10-20-25 สลับตามความเหมาะสม และควบคุมโรคและแมลงไม่ให้ทำลาย โดยเฉพาะหนอนต่างๆ ที่มากินใบ เจาะดอก เจาะต้น เพลี้ยไฟ เป็นต้น โรคและแมลงศัตรูพืชของมะลิ ปกติถ้าปลูกแล้วดูแลดีอย่างสม่ำเสมอก็จะไม่เกิดปัญหามากนัก ยกตัวอย่าง ฤดูฝน ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เกิดโรคและวัชพืชขึ้นเยอะ หากวัชพืชขึ้นปกคลุมมาก จะทำให้ต้นมะลิไม่งาม จึงควรกำจัดทิ้ง ส่วนโรคและแมลง จะเกิดขึ้นหลังจากฝนตกเป็นประจำ

      ดังนั้น จากประสบการณ์หลังฝนตกทุกครั้งต้องพ่นยาฆ่าแมลง และแนะนำว่าต้องพ่นยาฆ่าแมลงในเวลา 19.00-20.00 น. หรือเวลา 05.00-06.00 น. จะดีที่สุด หากเวลาอื่นหนอนหรือแมลงที่ทำลายต้นมะลิจะไม่ออกมา จะหลบซ่อนตัวอยู่ เมื่อฉีดพ่นยาฆ่าแมลงไปก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร อย่างเช่น หนอนเจาะดอก เป็นศัตรูที่สำคัญในการปลูกมะลิ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ จึงมีการใช้สารกำจัดหนอนอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากหนอนระบาดรุนแรงมากๆ ให้ฉีดวันเว้นวัน เพราะปัญหาเรื่องหนอนทิ้งไว้นานไม่ได้ ทิ้งแค่คืนเดียวก็กินใบและดอกมะลิหมดต้นได้เลยทีเดียว สารป้องกันกำจัดหนอนก็เลือกใช้ฉีดสลับได้ทุกตัว เช่น ยาเชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซิส เป็นต้น
      การตัดแต่งกิ่งสำหรับมะลิจำเป็นมาก หลังต้นมะลิอายุ 2 ปี ควรตัดแต่งกิ่งทุก 3-4 เดือน คุณเฉินจะระดมแรงงานตัดแต่งกิ่งทั้งหมดในคราวเดียว เพราะหลังตัดแต่งกิ่ง มะลิมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้ง ประมาณ 40-45 วัน ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 40-45 วัน
       คุณเฉิน เล่าว่า การเก็บเกี่ยวดอกมะลิต้องเก็บเฉพาะดอกตูมที่พร้อมจะบาน มีความเจริญเต็มที่ มีลักษณะสีขาวนวล ไม่ควรตัดมาทั้งช่อ เพราะลักษณะดอกมะลิเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้ว ถ้าดอกตูมเกินไป (อ่อนเกินไป) จะไม่สามารถบานต่อไปได้ หรือบานได้แต่คุณภาพไม่ดีหรือไม่มีกลิ่นหอม วิธีการเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง แรงงานที่ใช้ในการเก็บดอกมะลิแต่ละครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งใช้แรงงานไม่ต่ำกว่า 100 คน เพื่อความรวดเร็วต่อการเด็ดดอก ในทุกวันจะเริ่มเด็ดดอกมะลิในเวลา 06.00 น. และสิ้นสุดการเด็ดดอกในเวลา 19.00 น. ของทุกวัน หากจำนวนแรงงานน้อยกว่านี้ หรือระยะเวลาเด็ดดอกน้อยกว่านี้ จะทำให้เด็ดดอกมะลิส่งขายไม่ทัน ดอกจะโรยทิ้งหมด แรงงานทั้งหมดนอกจากจะทำหน้าที่เด็ดดอกแล้ว ต้องนำดอกมะลิมาล้างน้ำ 3-4 น้ำ จากนั้นนำมาคัดดอกเสียทิ้ง แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นเพื่อให้ดอกมะลิคงความสดได้หลายวัน ก่อนจะนำไปบรรจุถุง ปิดทับด้วยน้ำแข็งป่น แล้วบรรจุลงกล่องโฟม เพื่อให้ดอกมะลิคงสภาพสดมากที่สุดจนถึงมือลูกค้าหรือปลายทาง

       ดอกมะลิ ที่เด็ดดอกจำหน่าย ในพื้นที่ร่วม 200 ไร่ สามารถเด็ดดอกมะลิได้สูงสุดถึง 5000 ลิตร ต่อวัน แรงงานเด็ดดอกจะได้รับค่าจ้างเด็ด กิโลกรัมละ 50 บาท (1 ลิตร เท่ากับ 700 กรัม) ราคาขายปลีกหน้าร้านในฤดูร้อนและฤดูฝน อยู่ที่ราคาลิตรละ 50-80 บาท ยกเว้นฤดูหนาวที่มะลิไม่ให้ผลผลิต ทำให้ดอกมะลิมีราคาแพงถึงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท ขึ้นไป
      แม้มะลิที่สวนนี้จะพ่นยาฆ่าแมลงชีวภาพเป็นระยะ เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชก็ตาม แต่เมื่อถึงขั้นตอนการเก็บดอกมะลิ ก็จะทำความสะอาดอย่างดี ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายรอบ พร้อมกับคัดดอกที่เสียไปพร้อมๆ กัน ก่อนแพ็กลงกล่องโฟมส่งขายยังปากคลองตลาดและ195ประเทศ และมะลิจากสวนคุณเฉินส่งขายไปยังจังหวัดต่างๆ อาทิ จันทบุรี มุกดาหาร สุราษฎร์ธานี พังงา ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต อำนาจเจริญ และบึงกาฬ อเมริกา อังกฤษ จีน เวียดนาม เป็นต้น

    คุณเฉินเล่าว่า ตนเองและครอบครัวจะดูแลแผงดอกไม้อยู่ที่ปากคลองตลาด ซึ่งจะเป็นจุดขายส่งและขายปลีก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ขายดีทุกเทศกาล โดยเฉพาะวันสำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะวันขึ้น 5 ค่ำ วันขึ้น 6 ค่ำ วันแรม 12 ค่ำ และวันแรม 13 ค่ำ ทุกวันก่อนวันพระ (วันโกน) ความต้องการใช้ดอกมะลิสูงมาก นอกจากนี้ มะลิ ยังได้รับความนิยมในเกือบทุกเทศกาล จึงขายดีตลอด แม้ว่าราคาดอกมะลิจะแพงตามฤดูกาลก็ตาม รายได้จากการปลูกมะลิค่อนข้างดีหลายล้านบาทต่อไร่ แต่เกษตรกรต้องบริหารจัดการสวนและจัดการผลผลิตให้ดีจึงจะประสบผลสำเร็จ
     นอกจาก มะลิ จะเป็นพืชทำรายได้ให้กับครอบครัวคุณเฉินก็ตาม แต่การเห็นช่องทางการจำหน่ายดอกไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มดอกไม้ร้อยพวงมาลัย ทำให้คุณเฉินปลูกไม้ดอกอื่นเพิ่ม แม้จะปริมาณไม่มากนัก แต่ก็เพิ่มให้แผงค้าสมบูรณ์ไปด้วยไม้ดอกกลุ่มร้อยพวงมาลัยด้วยกัน ปัจจุบัน ก็ปลูกต้นรัก ซึ่งปลูกต้นรักเอาไว้ตามคันนาเพื่อเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งก็สามารถเก็บดอกรักขายได้ วันละ 350-1000 ลิตร ที่เลือกปลูกต้นรัก ซึ่งเป็นไม้ดอกที่เจริญเติบโตเร็ว ทนและง่ายต่อการดูแลรักษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในการปลูกมะลิได้ที่ คุณเฉิน หรือ เฟซบุ๊ก สวนมะลิสิงห์บุรีหรือสอบถามกิ่งพันธุ์ต้นมะลิพันธุ์แท้จากสวน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์คุณเฉินเจ้าของสวนได้
^^^ดูผ่านมือถือ(ระบบปฏิบัติการ)แอนดรอยด์หรือiOS Apple (TH)^^
ติดต่อเราช่องข้อความเพจสวนมะลิสิงห์บุรี คลิกที่นี่
ติดต่อเราช่องข้อความโปรไฟล์มะลิสิงห์บุรี คลิกที่นี่
ติดต่อเราช่องข้อความโปรไฟล์อ.เฉินCEO : คลิกที่นี่
ติดต่อเราช่องข้อความเพจป.เคมีภัณฑ์ คลิกที่นี่