อ้อยคั้นน้ำ เป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำอ้อยพร้อมดื่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทส เพื่อนำมาแปรรูปเป็นน้ำอ้อยสดบริโภคภายในประเทศ และน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์เพื่อจำหน่ายต่างประเทศ การผลิตอ้อยคั้นน้ำต้องอาศัยการจัดการด้านพันธุ์ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เพื่อให้ได้ อ้อยคั้นน้ำพร้อมดื่มที่มีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในด้านการวิจัยและพัฒนา วิธีการผลิตพืชที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงไดนำเสนอข้อมูล เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับอ้อยคั้นน้ำ : Good Agricultural Practice for Juice Cane เพื่อถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตอ้อยคั้นน้ำที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ไดผลผลิตอ้อยคั้นน้ำที่มีคุณภาพดี ตรงตามความต้องการของตลาด คุ้มค่า
ต่อ การลงทุน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบ
แหล่งผลิต ก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นน้ำอ้อยพร้อมดื่ม
ต่อ การลงทุน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบ
แหล่งผลิต ก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นน้ำอ้อยพร้อมดื่ม
1. แหล่งปลูก
1.1 สภาพพื้นที่
- พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร
- ความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
- ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
- การคมนาคมสะดวก สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว
1.2 ลักษณะดิน
- ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียว
- ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 % ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่า 80 ส่วนในล้านส่วน
- การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
- ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0
1.3 สภาพภูมิอากาศ
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30-35 องศาเซลเซียส
- ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี
- มีแสงแดดจัด
1.4 แหล่งน้ำ
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำชลประทาน สำหรับใช้ตลอดฤดูปลูก
- ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน
1.5 วางแผนการผลิต
อ้อยคั้นน้ำเป็นพืชบริโภคสด สามารถปลูกได้ตลอดปี จำเป็นต้องวางแผนการผลิต เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำอ้อย
- ควรติดต่อตลาดรับซื้อไว้ล่วงหน้า
- ผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
1.1 สภาพพื้นที่
- พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร
- ความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
- ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
- การคมนาคมสะดวก สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว
1.2 ลักษณะดิน
- ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียว
- ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 % ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่า 80 ส่วนในล้านส่วน
- การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
- ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0
1.3 สภาพภูมิอากาศ
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30-35 องศาเซลเซียส
- ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี
- มีแสงแดดจัด
1.4 แหล่งน้ำ
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำชลประทาน สำหรับใช้ตลอดฤดูปลูก
- ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน
1.5 วางแผนการผลิต
อ้อยคั้นน้ำเป็นพืชบริโภคสด สามารถปลูกได้ตลอดปี จำเป็นต้องวางแผนการผลิต เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำอ้อย
- ควรติดต่อตลาดรับซื้อไว้ล่วงหน้า
- ผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด