วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อย ตรา ไทยเดอร์

รายละเอียดสินค้า
#สเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อย ตรา ไทยเดอร์
**สินค้าส่งออก ใช้ดีจนต้องบอกต่อ...
#ผลิตภัณฑ์ OTOP #แก้ปวดเมื่อย
สูตรใหม่+++ จากชมรมแพทย์พิชัย
1 ขวด บรรจุ 80 มิลลิกรัม
สนใจสั่งซื้อ คลิก :  http://www.24ontop.com/prd-detail.php?p=380&f=65881
#วิธีใช้
ฉีดพ่นบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย โดยไม่ต้องนวด
#ผลิตโดย ชมรมแพทย์ไทยพิชัย

*****************************************************************************
พลวัตรการเคลื่อนไหวและวัฏจักรของค่าเงิน 

กายวิภาคของค่าเงินดอลลาสหรัฐ
โดยอ้างอิงทฤษฎี Core-Periphery ของ ฮาเวียร์ กอนซาเลซ จากหนังสือที่ชื่อ How to make money with Global Macro
อธิบายการปรับตัวของค่าเงินUSDล่าสุด เป็นผลมาจาก

โดยทั่วไปนั้นค่าเงินทั่วโลกนั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ
1.Reserve Currencies ซึ่งปัจจุบันคือ USD
2.Hard Currencies คือกลุ่มประเทศที่นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสุทธิ และสามารถกู้เงินภายในประเทศได้ในอัตราที่ถูกกว่า เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการหนีความเสี่ยง (เป็น Safe Heaven)
3.Soft Currencies คือกลุ่มประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สุทธิ และมักเป็นผู้ที่ต้องกู้จากแหล่งนอกประเทศ
โดยธรรมชาติแล้วเงินทุนจะไหลไปหาแหล่งที่ผลตอบแทนรวมสูงกว่าเสมอ
ทำให้เมื่อใดก็ตามที่ความเขื่อมั่นในUSDสูงขึ้น ก็จะทำให้เกิดลูปของ Expect+Bias ตามที่เคยอธิบายไปในตอนที่ 1 แล้ว
แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคือ แรงกดดันที่ส่งไปยังกลุ่มประเทศ Soft Currencies ทำให้ราคาUSD นั้นสัมพันธ์กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในเชิงผกผัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม YouTube : Forex : For = Foreign, Ex = Exchange : คลิปโดดเด่นปี 2561 https://bit.ly/2yOjZsS

YouTube : Forex : For = Foreign, Ex = Exchange : คลิปโดดเด่นปี 2560 https://bit.ly/2Akxvqp


กลุ่ม EAForLekLaakYaa :  https://www.facebook.com/groups/EAForLekLaakYaa/
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กล่าวคือ
เมื่อ USD ขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ลง
เมื่อ USD ลง สินค้าโภคภัณฑ์ขึ้น
เพราะในส่วนของ USD อยู่ในสถานะของ Unit of Account (ตัววัดมูลค่า)
เมื่อมูลค่าเปลี่ยนไปก็จะทำให้ต้องมีการปรับปรุงราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อชดเชยมูลค่าที่หายไป หรือ เพิ่มขึ้นตรงนั้น
ซึ่งการปรับตัวลักษณะนี้นั้นส่งผลไปทั่วโลก จนบางคนกล่าวว่า
"ว่าง่ายๆ โลกของเราส่วนใหญ่อยู่ได้ด้วยความเมตตาของดอลลาและFed"
เพราะหากปรับดอกเบี้ยขึ้น นั่นหมายถึงผลตอบแทนรวมเพิ่มขึ้น

ทำให้เงินทุนจะไหลกลับ ทำให้ค่าเงินUSDจะแข็งขึ้น และลูปของ Expect+Bias ก็จะทำงานต่อไป
และส่งผลกระทบใยวงกว้างต่อไปเรื่อยๆ

นอกจากนั้นแล้ว
ทฤษฎีดังกล่าวยังแบ่งประเทศออกเป็น Core (ศูนย์กลาง) และ Periphery (ชายขอบ)
ซึ่งในส่วนนี้นั้นแอดมินมองว่าคล้ายกับการแบ่งประเทศต่างๆออกเป็นประเทศพัฒนาแล้ว(Developed) และประเทศเกิดใหม่(Emerging)
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะมีพลวัตรเงินตราต่อกันผ่านทางการค้าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนแบบต่างๆ

ทำให้
โดยทั่วไปแล้ววัฏจักรของประเทศศูนย์กลางจะยาวนานกว่า
และจะยาวนานกว่าในช่วงที่ค่าเงินแข็งค่าด้วย

เพราะ
ค่าเงินที่อ่อนค่าเท่ากับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นกดดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
เมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้นก็ส่งผลให้Fedปรับเพิ่มดอกเบี้ย
ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนรวมของตลาดสหรัฐและพยุงค่าเงินUSDไว้
ดังนั้นค่าเงินดอลลาที่แข็งไม่เพียงดึงดูดการเก็งกำไรเท่านั้น
แต่ยังกดเงินเฟ้อลงด้วย
ซึ่งรักษาผลตอบแทนที่แท้จริงอยู่ในระดับสูง
และกันไม่ให้Fedควบคุม(อัตราดอกเบี้ย)มากเกินไป

ดังนั้นวัฏจักรของกลุ่มประเทศศูนย์กลาง(Core) จึงยาวนานกว่าเมื่อดอลลาแข็งค่าขึ้น
ซึ่งข้างต้นนี้คือธรรมชาติของค่าเงินดอลลสหรัฐที่จะส่งผลต่อทั่วโลกต่อๆไป ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวโน้มในอนาคต การเก็งกำไร และกระแสเงินทุนทั่วโลก

ขยายความให้ชัดเจนมากขึ้น
ต้องกลับไปสู่แนวคิดพื้นฐานเรื่องผลตอบแทนรวม
ก็คือเงินทุนจะไหลไปหาที่ๆผลตอบแทนรวมสูงที่สุด ซึ่งมาจาก 3 ส่วนด้วยกันคือ
ผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี่ยและ
การเพิ่มมูลค่าของเงินเมื่อลงทุนในตลาดนั้นๆ (เช่นการปรับตัวขึ้นของหุ้น หรือตราสารหนี้ เป็นต้น)
ซึ่งในบทความนี้ได้มีการแสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่ดอลล่ายังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยข้างต้นคือ
กราฟที่ 1 Real Trade weight US Dollar Index (ดัชนีค่าเงินดอลลาที่เปรียบเทียบกับสกุลทั่วโลก) ที่มีการแข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2011
กราฟที่ 2 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปี กับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่สูงขึ้นมาตลอดจนถึงระดับสูงที่สุด
กราฟที่ 3 ที่เป็นการเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างดัชนี S&P และประเทศที่เหลือทั่วโลก
หากกราฟปรับตัวลงคือ ทั่วโลกให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
หากกราฟปรับตัวขึ้นคือ S&P ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าทั่วโลก
ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นขาขึ้นมาประมาณ 8 ปีแล้ว

ซึ่ง
ทั้ง 3 กราฟแสดงให้เห็นถึง
การทำงานของ Expect+Bias ที่ทำให้แนวโน้มสามารถยืดออกไปได้เรื่อยๆ เว้นแต่ว่าจะมีปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ส่งเสริมเข้ามากระทบ และทำให้เกิดการดีดกลับอย่างรุนแรงอีกครั้ง (ตามที่ได้กล่าวถึงในบทความที่แล้ว)

.---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม YouTube : Forex : For = Foreign, Ex = Exchange : คลิปโดดเด่นปี 2561 https://bit.ly/2yOjZsS


YouTube : Forex : For = Foreign, Ex = Exchange : คลิปโดดเด่นปี 2560 https://bit.ly/2Akxvqp


กลุ่ม EAForLekLaakYaa :  https://www.facebook.com/groups/EAForLekLaakYaa/
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ซึ่งตรงกับสูตรคำนวณของ จอร์จ โซรอส ในหนังสือชื่อAlchemy of Finance
↑(e+i+m) → s↑ → e↑
(ซึ่ง E=อัตราแลกเปลี่ยน I=ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย M = การเพิ่มมูลค่าของเงินทุน S=กระแสเงินทุนเก็งกำไร ลูกศรคือการเพิ่มขึ้น(สำหรับคนที่เคยอ่านแล้ว ลูกศรของ S นั้นเดิมคือการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินทุนเก็งกำไร ซึ่งผู้เขียนบทความกลัวว่าจะทำให้สับสน เลยสลับด้านเพื่อความเข้าใจง่ายแทน) และลูกศรชี้ขวาคือเครื่องหมายเท่ากับ)
ตีความอย่างง่ายคือ ยิ่งตลาดเป็นใจเท่าไหร่ยิ่งเป็นการเพิ่มกระแสเงินเก็งกำไรเข้ามา และยิ่งเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแนวโน้มยิ่งขึ้น
และหากอธิบายให้ละเอียดถึงห่วงโซ่ตรรกะเพิ่มเติมคือ
โอกาสของการกระตุ้นทางคลังในอนาคต+ความยาวของตลาดขาขึ้น+ความยาวของการที่ Fed คงดอกเบี้ยต่ำ+Valuationที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์และการเก็งกำไรที่เพิ่มขึ้น
=
โอกาสมากยิ่งขึ้นที่Fed จะปรับดอกเบี้ยขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด = ผลตอบแทนรวมที่มากขึ้นของนักลงทุน = เงินทุนเก็งกำไรไหลเข้ามากยิ่งขึ้น = ค่าเงินUSDและสินทรัพย์ยิ่งแข็งค่าขึ้น = โอกาสที่FED จะเป็นกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆมากกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อเดิมที่ยังคงต่ำอยู่เนื่องจากค่าเงินดอลลาที่แข็งขึ้น = วงจรการสะท้อนกลับ = ภาวะเศรษฐกิจแบบ goldilocks (ไม่ดีแต่ก็ไม่แย่ โตแต่เงินเฟ้อไม่ขึ้น) ในตลาดหลักๆช่วงสั้นๆ = วงจรที่ดีในระยะยาวแบบไม่มั่นคง
และประยุกต์ใช้กับส่วนประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆได้ว่า
USDแข็ง=ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง=
เงินเฟ้อต่ำ+มูลค่า(Valuation)ต่ำ+เศรษฐกิจเติบโตช้า=
อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ(ประเทศที่เหลือ) ทำให้ส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐยิ่งกว้างขึ้น= USDแข็งขึน=วงจรที่การแข็งค่าของUSD

ทำให้ นึกถึงคำพูดของโซรอสที่ว่า
"ยิ่งวงจรอยู่นานเท่าใด ความน่าสนใจในการถือครองสินทรัพย์ที่สกุลเงินแข็งค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น และอัตราแลกเปลี่ยนยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการคำนวณอัตราผลตอบแทนทั้งหมด ผู้คนที่มีแนวโน้มจะสวนเทรนด์มีสิทธิ์ที่จะถูกทำลาย(ตายไป)
มีแค่Trend Follow เท่านั้นที่อยู่รอดเช่นเดียวกับนักลงทุนแบบActive ยิ่งการเก็งกำไรสำคัญเท่าใด ปัจจัยอื่นๆยิ่งส่งผลน้อย ไม่มีอะไรที่จะชี้นำนักเก็งกำไรได้นอกจากตัวตลาดเองและตลาดนั้นก็เต็มไปด้วยTrend Follower"
และ
ที่ผ่านมานั้นทั้งในยุคของเรแกน และคลินตันได้มีวงจรลักษณะนี้เกิดขึนมาแล้ว ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ ดูเหมือนว่าตลาดจะมีการสะดุดจากการดีดกลับอย่างรุนแรง มีทั้งบูมและพังในหลายระดับ

ปัจจัยต่างๆสามารถที่จะส่งผลดีได้อย่างมากในระยะสั้นแต่เป็นอันตรายในระยะยาว

ข้อสรุปของผู้เขียนคือ
ถ้าเราต้องเลือก โดยต้องคงความสนใจไว้ที่ตลาดพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐ
เราควรมองหาหุ้นที่ได้รับผลดีจากการขึ้นดอกเบี้ยและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก
เราต้องเลือกกลุ่มที่เหมาะกับการกระตุ้นหรือเพิ่มเงินหมุนเวียนของทรัมป์และให้ความสนใจเฉพาะในประเทศ
ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น
และแน่นอนLong USD ด้วย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม YouTube : Forex : For = Foreign, Ex = Exchange : คลิปโดดเด่นปี 2561 https://bit.ly/2yOjZsS

YouTube : Forex : For = Foreign, Ex = Exchange : คลิปโดดเด่นปี 2560 https://bit.ly/2Akxvqp



กลุ่ม EAForLekLaakYaa :  https://www.facebook.com/groups/EAForLekLaakYaa/
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------