วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนวคิด+มุมมองต่างกัน ผลก็จะออกมาต่างกัน

 ใครอยากมีเงินเดือน4หมื่นบาทขึ้นไปยกมือ เดินมาหาเรา เดี๋ยวเราบอกเทคนิดให้

คิดแบบนี้ถึงได้จน
คนจนกลัวเงินหมด 
ถ้าคนจนมีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง เขาจะทำธุรกิจอะไรก็ไม่กล้า เพราะกลัวเงินจะหมด กลัวทำแล้วล้มเหลว ผมยกตัวอย่างว่า หากนำเงินหนึ่งแสนไปให้คนรวยกับคนจน คุณคิดว่าทั้งสองคนนี้จะใช้มันเหมือนกันหรือเปล่า? คนจนนั้นมีเงินแสนก็มักจะเก็บไว้ด้วยความทะนุถนอม หรือไม่ก็อาจจะนำเงินครึ่งหนึ่งไปลงทุนซื้อของมาขายเล็กๆ น้อยๆ (เพราะทั้งเนื้อทั้งตัวมีอยู่แค่นี้ ต้องรักษาไว้) เก็บกำไรกินไป ไม่อยากลงทุนด้วยเงินทั้งหมด เพราะกลัวเงินหมด (แล้วมันก็หมดจริงๆ นี่คือสิ่งมหัศจรรย์ ฮ่า ฮ่า ฮ่า)
แต่ถ้าเป็นคนรวยเขาจะไม่ทำเช่นนั้น เขาจะวิเคราะห์ว่ามันมีธุรกิจอะไรบ้างที่มีรายได้ดี การลงทุนอะไรบ้างที่น่าสน เขาจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดและดูว่าใช้เงินทุนเท่าไหร่ หากเงินทุนไม่พอ ก็อาจจะหาเพิ่มด้วยการกู้ธนาคาร ชวนเพื่อนร่วมหุ้น (หรือไม่ก็ขอแม่...หุหุ) เป็นต้น แล้วก็ลงมือทำเลย (เพราะยิ่งคิดนานยิ่งกลัว) นี่แหละวิถีของคนรวย!
คนจนชอบบ่นว่าไม่มีเงินจะลงทุน 
ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้กลับไปบ้านเกิด จึงลองถามญาติๆ แถวบ้านดูว่า ระหว่างเงินทุนกับหัวสมอง อันไหนสำคัญกว่ากัน? เขาตอบทันทีว่าเงินทุนสิ ถ้าไม่มีทุน ไม่มีเงิน แล้วจะเริ่มได้อย่างไร (ญาติผมคนนี้มีอาชีพรับจ้างและเป็นช่างเหล็ก) 
แล้วคุณล่ะคิดหรือเชื่อแบบไหน? คิดว่าสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน เงินทุนหรือหัวสมอง? คนจนมักจะคิดว่าเงินทุนสำคัญกว่า แต่ถ้าลองเอาเงินทุนให้เขาหนึ่งล้านบาท เขาก็จะใช้มันไปกับสิ่งที่ชอบ ซื้ออะไรที่อยากได้ หลังจากนั้นก็พยายามใช้มันให้น้อยที่สุด (เพราะกลัวเงินหมด) 
ยกตัวอย่างญาติผม เขาอาจจะนำเงินบางส่วนไปซื้อตู้เชื่อม อุปกรณ์สำหรับเชื่อมเหล็ก ดีไม่ดีอาจจะไปซื้อมอเตอร์ไซค์ด้วยซ้ำ (เพราะอยากได้มานาน เอาซักคัน หุหุ) แล้วก็นำเงินที่เหลือไปซื้อของใช้ที่อยากได้ และค่อยๆ ใช้เงินที่เหลืออย่างประหยัด ใช้ทีละน้อยให้มันหมดลงช้าๆ (แต่มันก็หมดอยู่ดี...เฮ้อ!) และแล้วเงินทุนที่มีก็หมดลงในที่สุด 
ต่างจากคนรวย สายเลือดแห่งความรวยมันจะบอกเขาว่าวิธีการหาเงินที่อยู่ในสมองมันสำคัญกว่าเงินทุน ถ้าไม่มีเงินทุน เขาก็สามารถที่จะหยิบยืม ระดมทุน หรือหากู้มาได้ หากมีเงินทุน แต่ถ้าไม่มีหัวสมองในการใช้เงิน เดี๋ยวเงินมันก็หมด
ถ้าให้เงินคนรวยซักก้อนหนึ่ง เขาจะวางแผนใช้มันอย่างถูกต้องตามเหตุและผล เขาจะไม่ทำตามใจที่อยาก เขาจะดูว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ แล้วค่อยตัดสินใจจ่ายมัน (ไม่ใช้ทุกอย่างจำเป็นไปหมด) แล้วนำเงินที่เหลือไปลงทุนในธุรกิจที่ดีที่เขาได้คัดสรรมาจากหลายๆ ธุรกิจที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว
คนรวยบางคนอาจจะโชคไม่ดี เจอภัยน้ำท่วม ทำให้เขาหมดตัว แต่เขาก็จะทำมันให้กลับขึ้นมาได้เหมือนเดิม เพราะเขาเคยทำให้ธุรกิจมันเติบโตได้ เขาก็จะทำมันได้อีกครั้ง เนื่องจากในหัวสมองเขามันมีวิธีการอยู่แล้ว เขารู้ว่าจะต้องทำอย่างไร จะหาเงินทุนจากไหน อาจจะระดมทุนจากเพื่อนๆ หรือไม่ก็หาทางกู้เงินจากธนาคาร หาผู้ร่วมทุน เป็นต้น และเขาก็รู้ว่าควรต้องระวังจุดใดบ้าง แล้วเขาก็จะทำมันสำเร็จได้ในที่สุด
คนจนใช้เงินฟุ่มเฟือย 
คนจนมักจะคิดว่าคนรวยนั่นแหละตัวดี ใช้เงินฟุ่มเฟือย ซื้อรถหรูๆ ซื้อบ้านแพงๆ ไปเที่ยวต่างประเทศ (ดูสิ ฟุ่มเฟือยเห็นๆ) แต่คนจนไม่รู้เลยว่าเงินที่คนรวยเขาใช้นั้น มันเป็นเงินจากกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ เขาซื้อมาเพื่อเป็นรางวัลให้กับชีวิต เพื่อเติมพลังงานด้านบวก ต่างจากคนจนที่ใช้เงินจากค่าแรงหรือเงินออมของตัวเอง เก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็ไปซื้อโทรศัพท์ (ก็อยากได้อ่ะ ออกมาใหม่มันสวย โดนเลย) หรือไม่ก็เอาเงินไปซื้อรถ เก็บมาทั้งชีวิตก็อยากได้ไอ้คันนี้แหละ รอมานาน (ซื้อรถ เงินหมด ไม่มีเงินเติมน้ำมัน ก็เลยจอดเฉยๆ) พอเงินเดือนออกก็กินกุ้งเผา (เมาหัวทิ่ม) พอปลายเดือนเงินหมด (มาม่าซิครับ ออฟฟิศมีเครื่องทำน้ำร้อน หุหุ) นี่แหละนิสัยคนจน