วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปลูกพืชวัน-เดือน-ปีมีรายได้ครบไม่ขาดมือ:ชำแหละ: ต้นทุนข้าวไทย ชาวนาไทย ทำไมถึงว่าจน - Facebook

ผมมีเรื่องอยากจะเขียนให้เต็มไปหมดแต่เวลาก็ไม่ค่อยอำนวยสักเท่าไร เพราะงานประจำรัดติ้ว แต่งวดนี้มีเรื่องข้อสงสัยในกระทู้หว้ากอว่าชาวนาไทยทำนาไปทำไม ทำแล้วก็ต้องผลาญเงินภาษีไปโบ๊ะราคาข้าว โบ๊ะแล้วโบ๊ะอีก ดังนั้น ถ้าเรามาดูกันจริงๆจังๆว่า ชาวนาจะทำนากันไปทำไมถ้ามันขาดทุนกันได้ตลอด

โครงสร้างราคาข้าว
จากข้อมูลรายงาน “การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105  ของเกษตรกร
ผู้จัดท าแปลงขยายพันธุ์ข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์  ในปีการผลิต 2551/52 - 2554/55” ของศูนย์พันธุ์ข้าวสุรินทร์ [1] พบว่า โครงสร้างต้นทุนข้าว จะมีประมาณดังต่อไปนี้

ค่าใช้จ่ายต่อปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ในภาพรวมก็จะอยู่ในช่วง 3500 – 4000 บาท ต่อไร่ เมื่อเราคิดถึง Yield ของข้าวต่อไร่ ในแต่ละปี ซึ่งจากตารางข้างต้น ตัวอย่างปี 2554จะอยู่ที่ 364 กิโลกรัมต่อไร่ เราจะคำนวณออกมาเป็นต้นทุนข้าวเปลือกต่อกิโลกรัมได้ตามข้างล่าง ผู้อ่านสามารถหา Yield แต่ละปีได้โดยเอา บาทต่อไร่ หารด้วย บาทต่อกิโลกรัมข้าวเปลือกกันเอาเองนะครับ
 ราคาขายข้าวเปลือกหอมมะลิ (ขาวดอกมะลิ 105) จากราคาเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ 15,000 บาทต่อตันข้าวตามราคาโรงสี หรือ 15 บาท ต่อกิโลกรัม [2] ส่วนต้นทุนของชาวนา อยู่ที่ 10.4 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2554 เป็นค่ากินค่าอยู่ของชาวนา เราจะมาว่ากันทีหลังถึงเรื่องรายได้ของชาวนาทีหลัง ตอนนี้เราพักไปดูต้นทุนของโรงสีกันก่อน ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า การสีข้าวเปลือก 1 ตัน จะได้ข้าวสารประมาณ 460 กก ส่วนอื่นๆที่ได้ คือ ปลายข้าวหัก รำข้าว และ แกลบ โดยข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เคยทำวิเคราะห์สัดส่วนผลผลิตไว้ในปี 2539 ดังต่อไปนี้ [3]
การสีข้าว จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ 1,129 บาทต่อตัน คิดจากต้นทุนค่าสี 7% [4] แต่ถ้าจะไล่ไปจนจบกระบวนการ มีการจัดส่ง บรรจุเป็นหีบห่อพร้อมขาย ข้อมูลจากกระทู้ในเวบเกษตรพอเพียง[5] มีกระทู้ที่แตกค่าใช้จ่ายออกมาได้ค่อนข้างละเอียด โดยเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ค่าใช้จ่ายการสีข้าวที่ 1,000 บาทก็นับว่าตรงกับข้อมูลจากรายงานของ กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 จึงใช้ข้อมูลจากกระทู้ในเวบเกษตรพอเพียง[5]เป็นฐาน ได้ผลมาดังต่อไปนี้



รายได้ทำกินของชาวนา
ส่วนต่างของมูลค่า ที่น่าสนใจ ส่วนของโรงสีที่ได้มูลค่าส่วนเพิ่มจากกำไรมีเพียง 6% และสมมุติเชื่อว่าต้นทุนของโรงสีน้อยกว่านั้นสักกึ่งหนึ่ง มูลค่าส่วนเพิ่มตรงกำไร ก็จะขยายมาที่ 12% ในราคาข้าว 32 บาท นั่นก็เป็นกำไรเพียง 2-4 บาทจากโรงสี แต่ส่วนมูลค่าเพิ่มจากกำไร 8 บาท หรือ 25% ของมูลค่า มาจากชาวนา
ทีนี้ ราคาขายข้าว ของชาวนา จะสร้างรายได้ให้ชาวนาได้เท่าไร ก็ต้องมาดูเรื่องพื้นที่ทำกินกันว่า ด้วยขนาดของพื้นที่ทำกิน (ไร่) ชาวนาจะมีรายได้เท่าไร ถ้าทำการเกษตร 3 รอบต่อปี โดยสัดส่วนแล้วชาวนา 25.5% จะมีที่ทำกิน ไม่เกิน 10 ไร่ ชาวนา 39.2% มีพื้นที่ทำกิน 10 -20 ไร่ ชาวนา 17.7% มีพื้นที่ทำกิน 20-30 ไร่ และ 9.8% มีพื้นที่ทำกิน 30-40 ไร่ ที่เหลือ 7.8% คือมีพื้นที่ทำกิน 40 ไร่ขึ้นไป[1] ซึ่งโครงสร้างต้นทุนกำไรของแต่ละขนาดพื้นที่ทำกิน จะได้ออกมาประมาณนี้
* แก้ไข การชดเชยจาก บาทต่อปีต่อราย เป็น บาทต่อปี - รอบการเพาะปลูก - ราย ครับ*

ปัญหาการชดเชยราคา หรือการจำนำข้าว
การชดเชยราคาข้าวของรัฐ คิดราคาจำนำประมาณ 20,000 บาทต่อตันข้าวเปลือกสูงกว่าราคาตลาด 5,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก [7] หลักๆก็คือการช่วยชาวนาที่มีพื้นที่ทำกินน้อยเพียง 10 ไร่ ให้มีฐานรายได้สูงพอจะอยู่ทั้งครอบครัว แต่เงินชดเชยนี้ ก็ต้องให้กับชาวนาที่มีที่ดินทำกินมากพอ นี่จึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไม พ่อค้า ไปปลูกข้าวแล้วรวยทุกคน เพราะขอแค่รวบรวมพื้นที่ได้มากพอ การปลูกข้าว จะได้อานิสงค์จากภาษีของรัฐเกิดเป็นกำไรอย่างมากมายมหาศาล

ขนาดทางเศรษฐกิจ ปัจจัยชี้ขาดของภาวะยากจนของชาวนา 
จากตรงนี้ เราน่าจะเห็นถึงความไม่ยุติธรรมในความยุติธรรมที่ต้องผลาญเงินมหาศาลเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกร 25% มันเป็นความยุติธรรมถ้าเรามองว่าถ้าจะให้เงินชดเชยก็ต้องให้แบบฝนตกทั่วฟ้า รายได้ต่อผลผลิตจะได้เท่าเทียมกัน แต่ไม่ยุติธรรมกับผู้เสียภาษีที่เพื่อช่วยเกษตรกร 25% แต่ถูกชักเงินภาษีไปล้างผลาญเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึง 3 เท่าตัว
การลดการกดขี่ของพ่อค้าคนกลาง อาจช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร แต่ปัญหาที่ใหญ่จริงๆมันมาจากโครงสร้างที่ทำกิน ชาวนาที่มีขนาดที่ทำกิน 10 ไร่ อาจได้เงินเพิ่ม 900 บาทต่อเดือนเทียบเท่าถ้ารีดเม็ดเงินออกจากพ่อค้าคนกลางในส่วนความไม่เป็น ธรรม สมมุติว่ามีการกดราคารับซื้อถูกกดลงไปจากราคาของโรงสีสัก 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก แต่ถึงกระนั้น ข้อเท็จจริงก็คือ พื้นที่ทำกินของเขา ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ความต้องการพื้นฐานรายได้ถ้าเราเชื่อตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ความต้องการรายได้ต่อเดือนอย่างน้อยของเกษตรกรก็ควรอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 8,000 บาทต่อเดือน ซึ่งกลุ่มผู้มีขนาดที่ทำกิน 10 ไร่ ถ้าไม่มีการหว่านเงินชดเชยจากภาครัฐ รายได้เขาก็อยู่แค่ช่วง 5,000 บาทต่อเดือน

แนวทางการแก้ปัญหา
การแก้ไขปัญหาระยะยาวจะต้องมีการจัดการโครงสร้างเชิงสังคมกันขนาดใหญ่ เช่นอาจต้องจัดหางานอื่นๆเข้ามาทดแทนให้ชาวนาสัก 10% ที่มีพื้นที่ทำกินไม่ถึง 10 ไร่ อาจโอนให้เขาไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม แล้วชาวนาที่เหลือรับช่วงพื้นที่ทำกินเพิ่มแทน ปัญหาราคาข้าวก็จะแก้ไปได้แบบถาวร หรืออาจปรับโอนชาวนาบางส่วนไปทำอาชีพเกษตรอื่นๆที่มีผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง กว่านี้และพออยู่ได้ในพื้นที่ทำกินแค่ 10 ไร่เป็นต้น แต่ถ้าทำกันอย่างนี้ต่อไป เราก็จะมีการ Siphon เงินจากกระเป๋าประชาชนไปอย่างสูญเปล่าเพื่อเลี้ยงคนจำนวนน้อยอย่างไร้ที่ สิ้นสุด

อ้างอิง
[1] ต้นทุนข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ http://srn-rsc.ricethailand.go.th/image/article-55-04.pdf
[2] ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ กรมการค้าภายใน http://www.dit.go.th/surin/contentdet.asp?deptid=96&id=3285
http://www.dit.go.th/contentdetail.asp?TypeID=4&catid=155&id=3207
[3] Yield การสี AFTC http://www.aftc.or.th/itc/products_analyze_price_09.php?id=56&fgrp_id=5&fmnu_id=18
[4] รายงาน อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว ของกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา2
[5] ต้นทุนการสีข้าว บอร์ด เกษตรพอเพียง http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=10372.0
[6]ราคาข้าว สมาคมโรงสีไทย http://www.thairicemillers.com/images/stories/Riceprice2554/average%20price.pdf
[7] ราคาจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ กรมการค้าภายใน http://www.dit.go.th/contentdetail.asp?typeid=8&catid=144&ID=3283