บทที่ 1 ก่อนเริ่มธุรกิจ
ในเรื่องของการทำความเข้าใจก่อนเริ่มต้นธุรกิจกันก่อน น่าจะทำให้เข้าใจรายละเอียดได้ดีขึ้น ซึ่งก็เริ่มจากการที่แต่เดิมเราเป็นลูกจ้างของบริษัท ซึ่งไม่ได้มีความเสี่ยงด้านรายได้มากนัก เพราะเราได้เงินเดือน โบนัส (และคอมมิสชั่น) เพื่อแลกกับการที่เราต้องทำงานเป็นเวลาตามระเบียบบริษัท
เมื่อเราอยากหารายได้ให้มากขึ้น เราก็ลงทุนกับ “การศึกษา” เพื่อขยับขยาย “ความรู้” และตามมาด้วย “ฐานเงินเดือน” ที่สูงขึ้นตามมา แต่รายได้ของเราก็เป็นการเพิ่มแบบเป็นขั้นบันได 1 2 3 4 อยู่ดี
บางคนก็จึงเริ่มเบื่อหน่ายกับงานประจำ เบื่อหน่ายทั้งจากในเรื่องของงาน รวมไปถึงต้องการมีรายได้ที่มากขึ้น เพื่อมาหล่อเลี้ยงชีวิตทั้งของเราเองและของครอบครัว ให้มีกินมีใช้สุขสบายมากขึ้น มีเงินเก็บเหลือไว้ใช้ยามจำเป็น ทีนี้ก็เลยเริ่มคิดถึง “การทำธุรกิจส่วนตัว”
“การทำธุรกิจส่วนตัว” นั้น จะว่าไปแล้วต้องอาศัยความพร้อมในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านของ “เงินลงทุน” “เวลาที่ใช้ในการบริหารจัดการ” และ “วิถีชีวิตที่จะต้องเป็นผู้ควบคุมกิจการและรับความเสี่ยงของกิจการ” เพื่อแลกมากับ “โอกาส” ที่รายได้ ”จะเติบโตก้าวกระโดด”
ในบทนี้ จึงขอเกริ่นในส่วนชองความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มทำกิจการ ซึ่งหมีคิดว่าน่าจะมีหัวข้อหลักๆ 3 ข้อ ได้แก่
ข้อแรก เราต้องเข้าใจว่าการทำธุรกิจ เราจะได้มาทั้ง “สิทธิในกำไรของกิจการ” และ “หน้าที่ในการบริหารงาน” โดยเงินลงทุนของเรา เป็นสิ่งที่ “เล่นจริง เจ็บจริง” เพื่อให้เห็นภาพก็ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราเป็นพนักงานเงินเดือน 24,000 บาท ถ้าคิดเฉลี่ย 30 วันก็แสดงว่าค่าตัวของเรา วันละ 800 บาท ทำงานวันละ 10 ชั่วโมง ก็แสดงว่าต้นทุนของบริษัทที่จ่ายให้แก่เราก็คือ ชั่วโมงละ 80 บาท สมมติเรามาทำงานตรงเวลา แต่ถ้าสองขั่วโมงแรกเรามัวแต่ “เม้าท์มอย” กับเพื่อนๆ นั่นก็แสดงว่าบริษัท ทำเงินตกหายไปแล้ว 160 บาท (80 บาท x 2 ชั่วโมง) อันนี้ยังไม่รวมส่วนของเพื่อนๆเราด้วยนะ และนั่นก็หมายความว่า ถ้าเราเป็น “เจ้าของกิจการ” เราจะสูญเสียในส่วนนี้ และสิ่งที่เราต้องทำ คือ “ทำกำไรเพื่อให้ชดเชยกับส่วนที่หายไปตรงนี้”
ข้อสอง เราต้อง “เข้าใจในตัวธุรกิจ” ในระดับหนึ่ง คำว่า “เข้าใจในตัวธุรกิจ” ไม่ได้ความแค่ว่าต้องไปขายอะไร ที่ไหนหรือขายราคาประมาณกี่บาท แต่เราต้องรู้ไปถึงว่าต้นทุนเราอยู่ที่ตรงไหน เท่าไหร่ ราคาขายและต้นทุนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะไม่เพียงแค่จะต้องทำกำไรเพื่อหล่อเลี้ยงกิจการ แต่เรายังต้องขยายงานและป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย เพื่อให้เห็นภาพ จะยกตัวอย่างสักนิดหนึ่ง..
สมมติถ้าเราจะเปิดร้านขายซูชิตามตลาดนัด เราจะต้องทำยังไงบ้างนะ.. แต่เท่าที่รู้ “ยังทำซูชิไม่เป็น” สิ่งที่เราทำก็อาจจะเป็นการไปรับ “หน้าซูชิ” ที่มีทั้งไข่หวาน ปลาหมึก แมงกระพรุน สาหร่ายและครีบหอยเชลล์มาจากร้านขายส่ง โดยที่เราเองมีหน้าที่หุง “ข้าวญี่ปุ่น” และเอาไปแปะกับหน้าซูชิ และเอาไปวางขาย ราคาขายถูกกำหนดไว้โดย “ราคาตลาด” แล้ว ที่ชิ้นละ 5 บาท ทีนี้เราก็มาดูต้นทุนกัน.. ต้นทุนอย่างแรกสุดเลยก็คือ
1. ค่าอุปกรณ์ ทั้งหม้อหุงข้าว ไผ่ห่อสาหร่ายบลอคสำหรับทำซูชิ รวมถึงโต๊ะและป้ายไวนิล รวมทั้งหมดเริ่มแรก “ไม่ขายก็โดนไปแล้ว” สิริรวม 12,000 บาท
2. ค่าวัตถุดิบที่เอามาขาย วันละ 800 บาท ได้ 400 ชิ้น (ถ้าคิดง่ายๆ ก็ชิ้นละ 2 บาท)
3. ค่าเช่าที่ วันละ 100 บาท
4. ค่าแรง (อันนี้แรงตัวเอง 2 คน คิดที่ 300 บาทต่อวัน) วันละ 600 บาท
5. ค่าจัดส่งวัตถุดิบที่เราสั่งซื้อ ครั้งละ 100 บาท ส่งมากับรถตู้จากรังสิตมาถึงบางแค
ถ้าเอาต้นทุนมายำรวมๆ กัน ต้นทุนที่จ่ายต่อวันของเราก็ประมาณ 1,600 บาท (800+100+600+100) ถ้าขายชิ้นละ 5 บาท เราก็ต้องขายให้ได้ 320 ชิ้น (1,600/5) จึงจะคุ้มทุนกับแรงที่ลงไป ตรงนี้เรียกว่า “กำไรขั้นต้น” (ยังไม่รวมถึงต้นทุนอุปกรณ์กับค่าบริหารงาน) ถ้ากำไรขั้นต้นตรงนี้ติดลบ (หมายถึงขายได้ไม่ถึง 320 ชิ้น) ก็เลิกขายได้เลย เพราะทำไปไม่มีกำไร..
แต่ถ้าพอจะมีกำไรขั้นต้น ก็คือสมมติว่าขายหมด 400 ชิ้น ได้เงินมา 2,000 บาท หักกำไรขั้นต้นแล้ว เหลือ 400 บาทต่อวัน นั่นก็เท่ากับว่าเราจะคืนทุนค่าอุปกรณ์ที่ 30 วัน (12,000 / 400) และหลังจากนั้น ถ้าเราจ้างคนที่ “ไว้ใจได้” มาขาย เงินก็จะไหลเข้าวันละ 400 บาท ภายใต้ความเสี่ยงสักสองสามอย่าง ได้แก่ อุปกรณ์สึกหรอหรือลูกจ้างออกไปเปิดร้านขายเอง เป็นต้น และถ้าเราลองคิดต่อไปว่า เรา “ควบคุมบริหาร” และนำร้านไปวาง 2 3 4 จุดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ มันก็จะสร้างธุรกิจเล็กๆของเราขึ้นและทำให้เรามีเงินสดเข้ามา รวมไปถึงส่วนลดจากการซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก ก็จะทำให้อัตรากำไรดีขึ้น
ตรงนี้เองที่เราเรียกว่า “โมเดลธุรกิจ” หรือแผนธุรกิจ ที่เราร่างไว้ในหัว.. ก็แน่ล่ะ!! เราเป็นนักธุรกิจนี่นา...
ย้อนกลับมาข้อที่สอง เรื่อง “ความเข้าใจในธุรกิจ” สิ่งที่อธิบายข้างต้น เพราะ “เคยทำ” มาก่อน จึงสามารถอธิบายได้บ้าง โดยในข้อเท็จจริงก็จะยังมี “ต้นทุนแฝง” และอุปสรรค อีกมาก ที่จะได้อธิบายกันในบทต่อๆ ไป แต่บทนี้ขอไว้เท่านี้ก่อน และสำหรับคนที่คิดว่ากำลังจะไป “ทดลองทำ” เราก็อาจจะใช้วิธีง่ายๆ ที่ประหยัดกว่า คือ การไป “เซอร์เวย์” หรือทดลองดูอันที่เค้าทำอยู่ปัจจุบันดูก่อน แต่ขอให้เราสังเกตว่า “ขายอะไรบ้าง”,“ขายดีไม๊”, “อะไรขายไม่หมด”, “ค่าเช่าเท่าไหร่” และ “อุปกรณ์มีอะไรบ้าง” และลองนำมาคิดต้นทุน เราอาจจะเห็นภาพคร่าวๆ ก่อน
และข้อที่สาม ก็คือ ในกรณีที่มี “หุ้นส่วน” หลายคน ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนว่า “การทำธุรกิจมีความเสี่ยง” การแบ่งปันผลประโยชน์จะเป็นอย่างไร หากกิจการโตสำเร็จ จะเดินในทิศทางไหน สิทธิพิเศษของ “หุ้นส่วนผู้จัดการ” ควรจะเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหากันทีหลัง และควรจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ลงชื่อรับทราบร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อป้องกันการ “มั่วนิ่ม”
บทนี้เอาเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ แต่เดี๋ยวบทหน้า เราก็จะพูดถึงการ “ออกตัวแรง” กันครับ เพราะการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่จำเป็นต้อง “ออกตัวแรง” เพราะเราสามารถลอง “ชิม” ดูก่อนได้ครับ..
ในเรื่องของการทำความเข้าใจก่อนเริ่มต้นธุรกิจกันก่อน น่าจะทำให้เข้าใจรายละเอียดได้ดีขึ้น ซึ่งก็เริ่มจากการที่แต่เดิมเราเป็นลูกจ้างของบริษัท ซึ่งไม่ได้มีความเสี่ยงด้านรายได้มากนัก เพราะเราได้เงินเดือน โบนัส (และคอมมิสชั่น) เพื่อแลกกับการที่เราต้องทำงานเป็นเวลาตามระเบียบบริษัท
เมื่อเราอยากหารายได้ให้มากขึ้น เราก็ลงทุนกับ “การศึกษา” เพื่อขยับขยาย “ความรู้” และตามมาด้วย “ฐานเงินเดือน” ที่สูงขึ้นตามมา แต่รายได้ของเราก็เป็นการเพิ่มแบบเป็นขั้นบันได 1 2 3 4 อยู่ดี
บางคนก็จึงเริ่มเบื่อหน่ายกับงานประจำ เบื่อหน่ายทั้งจากในเรื่องของงาน รวมไปถึงต้องการมีรายได้ที่มากขึ้น เพื่อมาหล่อเลี้ยงชีวิตทั้งของเราเองและของครอบครัว ให้มีกินมีใช้สุขสบายมากขึ้น มีเงินเก็บเหลือไว้ใช้ยามจำเป็น ทีนี้ก็เลยเริ่มคิดถึง “การทำธุรกิจส่วนตัว”
“การทำธุรกิจส่วนตัว” นั้น จะว่าไปแล้วต้องอาศัยความพร้อมในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านของ “เงินลงทุน” “เวลาที่ใช้ในการบริหารจัดการ” และ “วิถีชีวิตที่จะต้องเป็นผู้ควบคุมกิจการและรับความเสี่ยงของกิจการ” เพื่อแลกมากับ “โอกาส” ที่รายได้ ”จะเติบโตก้าวกระโดด”
ในบทนี้ จึงขอเกริ่นในส่วนชองความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มทำกิจการ ซึ่งหมีคิดว่าน่าจะมีหัวข้อหลักๆ 3 ข้อ ได้แก่
ข้อแรก เราต้องเข้าใจว่าการทำธุรกิจ เราจะได้มาทั้ง “สิทธิในกำไรของกิจการ” และ “หน้าที่ในการบริหารงาน” โดยเงินลงทุนของเรา เป็นสิ่งที่ “เล่นจริง เจ็บจริง” เพื่อให้เห็นภาพก็ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราเป็นพนักงานเงินเดือน 24,000 บาท ถ้าคิดเฉลี่ย 30 วันก็แสดงว่าค่าตัวของเรา วันละ 800 บาท ทำงานวันละ 10 ชั่วโมง ก็แสดงว่าต้นทุนของบริษัทที่จ่ายให้แก่เราก็คือ ชั่วโมงละ 80 บาท สมมติเรามาทำงานตรงเวลา แต่ถ้าสองขั่วโมงแรกเรามัวแต่ “เม้าท์มอย” กับเพื่อนๆ นั่นก็แสดงว่าบริษัท ทำเงินตกหายไปแล้ว 160 บาท (80 บาท x 2 ชั่วโมง) อันนี้ยังไม่รวมส่วนของเพื่อนๆเราด้วยนะ และนั่นก็หมายความว่า ถ้าเราเป็น “เจ้าของกิจการ” เราจะสูญเสียในส่วนนี้ และสิ่งที่เราต้องทำ คือ “ทำกำไรเพื่อให้ชดเชยกับส่วนที่หายไปตรงนี้”
ข้อสอง เราต้อง “เข้าใจในตัวธุรกิจ” ในระดับหนึ่ง คำว่า “เข้าใจในตัวธุรกิจ” ไม่ได้ความแค่ว่าต้องไปขายอะไร ที่ไหนหรือขายราคาประมาณกี่บาท แต่เราต้องรู้ไปถึงว่าต้นทุนเราอยู่ที่ตรงไหน เท่าไหร่ ราคาขายและต้นทุนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะไม่เพียงแค่จะต้องทำกำไรเพื่อหล่อเลี้ยงกิจการ แต่เรายังต้องขยายงานและป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย เพื่อให้เห็นภาพ จะยกตัวอย่างสักนิดหนึ่ง..
สมมติถ้าเราจะเปิดร้านขายซูชิตามตลาดนัด เราจะต้องทำยังไงบ้างนะ.. แต่เท่าที่รู้ “ยังทำซูชิไม่เป็น” สิ่งที่เราทำก็อาจจะเป็นการไปรับ “หน้าซูชิ” ที่มีทั้งไข่หวาน ปลาหมึก แมงกระพรุน สาหร่ายและครีบหอยเชลล์มาจากร้านขายส่ง โดยที่เราเองมีหน้าที่หุง “ข้าวญี่ปุ่น” และเอาไปแปะกับหน้าซูชิ และเอาไปวางขาย ราคาขายถูกกำหนดไว้โดย “ราคาตลาด” แล้ว ที่ชิ้นละ 5 บาท ทีนี้เราก็มาดูต้นทุนกัน.. ต้นทุนอย่างแรกสุดเลยก็คือ
1. ค่าอุปกรณ์ ทั้งหม้อหุงข้าว ไผ่ห่อสาหร่ายบลอคสำหรับทำซูชิ รวมถึงโต๊ะและป้ายไวนิล รวมทั้งหมดเริ่มแรก “ไม่ขายก็โดนไปแล้ว” สิริรวม 12,000 บาท
2. ค่าวัตถุดิบที่เอามาขาย วันละ 800 บาท ได้ 400 ชิ้น (ถ้าคิดง่ายๆ ก็ชิ้นละ 2 บาท)
3. ค่าเช่าที่ วันละ 100 บาท
4. ค่าแรง (อันนี้แรงตัวเอง 2 คน คิดที่ 300 บาทต่อวัน) วันละ 600 บาท
5. ค่าจัดส่งวัตถุดิบที่เราสั่งซื้อ ครั้งละ 100 บาท ส่งมากับรถตู้จากรังสิตมาถึงบางแค
ถ้าเอาต้นทุนมายำรวมๆ กัน ต้นทุนที่จ่ายต่อวันของเราก็ประมาณ 1,600 บาท (800+100+600+100) ถ้าขายชิ้นละ 5 บาท เราก็ต้องขายให้ได้ 320 ชิ้น (1,600/5) จึงจะคุ้มทุนกับแรงที่ลงไป ตรงนี้เรียกว่า “กำไรขั้นต้น” (ยังไม่รวมถึงต้นทุนอุปกรณ์กับค่าบริหารงาน) ถ้ากำไรขั้นต้นตรงนี้ติดลบ (หมายถึงขายได้ไม่ถึง 320 ชิ้น) ก็เลิกขายได้เลย เพราะทำไปไม่มีกำไร..
แต่ถ้าพอจะมีกำไรขั้นต้น ก็คือสมมติว่าขายหมด 400 ชิ้น ได้เงินมา 2,000 บาท หักกำไรขั้นต้นแล้ว เหลือ 400 บาทต่อวัน นั่นก็เท่ากับว่าเราจะคืนทุนค่าอุปกรณ์ที่ 30 วัน (12,000 / 400) และหลังจากนั้น ถ้าเราจ้างคนที่ “ไว้ใจได้” มาขาย เงินก็จะไหลเข้าวันละ 400 บาท ภายใต้ความเสี่ยงสักสองสามอย่าง ได้แก่ อุปกรณ์สึกหรอหรือลูกจ้างออกไปเปิดร้านขายเอง เป็นต้น และถ้าเราลองคิดต่อไปว่า เรา “ควบคุมบริหาร” และนำร้านไปวาง 2 3 4 จุดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ มันก็จะสร้างธุรกิจเล็กๆของเราขึ้นและทำให้เรามีเงินสดเข้ามา รวมไปถึงส่วนลดจากการซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก ก็จะทำให้อัตรากำไรดีขึ้น
ตรงนี้เองที่เราเรียกว่า “โมเดลธุรกิจ” หรือแผนธุรกิจ ที่เราร่างไว้ในหัว.. ก็แน่ล่ะ!! เราเป็นนักธุรกิจนี่นา...
ย้อนกลับมาข้อที่สอง เรื่อง “ความเข้าใจในธุรกิจ” สิ่งที่อธิบายข้างต้น เพราะ “เคยทำ” มาก่อน จึงสามารถอธิบายได้บ้าง โดยในข้อเท็จจริงก็จะยังมี “ต้นทุนแฝง” และอุปสรรค อีกมาก ที่จะได้อธิบายกันในบทต่อๆ ไป แต่บทนี้ขอไว้เท่านี้ก่อน และสำหรับคนที่คิดว่ากำลังจะไป “ทดลองทำ” เราก็อาจจะใช้วิธีง่ายๆ ที่ประหยัดกว่า คือ การไป “เซอร์เวย์” หรือทดลองดูอันที่เค้าทำอยู่ปัจจุบันดูก่อน แต่ขอให้เราสังเกตว่า “ขายอะไรบ้าง”,“ขายดีไม๊”, “อะไรขายไม่หมด”, “ค่าเช่าเท่าไหร่” และ “อุปกรณ์มีอะไรบ้าง” และลองนำมาคิดต้นทุน เราอาจจะเห็นภาพคร่าวๆ ก่อน
และข้อที่สาม ก็คือ ในกรณีที่มี “หุ้นส่วน” หลายคน ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนว่า “การทำธุรกิจมีความเสี่ยง” การแบ่งปันผลประโยชน์จะเป็นอย่างไร หากกิจการโตสำเร็จ จะเดินในทิศทางไหน สิทธิพิเศษของ “หุ้นส่วนผู้จัดการ” ควรจะเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหากันทีหลัง และควรจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ลงชื่อรับทราบร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อป้องกันการ “มั่วนิ่ม”
บทนี้เอาเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ แต่เดี๋ยวบทหน้า เราก็จะพูดถึงการ “ออกตัวแรง” กันครับ เพราะการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่จำเป็นต้อง “ออกตัวแรง” เพราะเราสามารถลอง “ชิม” ดูก่อนได้ครับ..