การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง,การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า-YouTube
การเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา
สไปรูไลนา (Spirulina
spp.) สไปรูลินา หรือสาหร่ายเกลียวทอง คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
(blue-green algae) ที่มีขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็นและเป็นแพลงก์ตอน
สไปรูไลนาเป็นพืชที่ก่อกำเนิดมานานมีการพบฟอสซิลของมันซึ่งสันนิษฐานว่าน่า จะมีอายุประมาณ
๓.๕ พันล้านปี สไปรูไลนาเป็นพืชชั้นต่ำ อยู่ใน Division Cyanophyta, Class
Cyanophyceae, Order Oscillatoriales, Family Oscillatoriaceae เมื่อมันล่องลอยอยู่ในน้ำที่เราเพาะเลี้ยง
เราจะเห็นน้ำเป็นสีเขียวเข้ม สไปรูไลนาอยู่ในครอบครัวเดียวกับสาหร่ายขนแมว (Oscillatoria
spp.) เซลล์ ยังไม่มีนิวเคลียสหรือนิวเคลียสยังไม่มีเยื่อหุ้มสไปรูไลนาประกอบด้วยเซลล์
รูปทรงกระบอกหลายเซลล์มาเรียงต่อกันเป็นเส้นสาย และบิดเป็น
เกลียว การบิดเป็นเกลียวเป็นลักษณะเฉพาะที่ทำให้สไปรูไลนาแตกต่างจากสาหร่ายขนแมว แต่การบิดเป็นเกลียวจะกลายเป็นเส้นตรงได้ภายใต้สภาวะบางอย่าง ทำให้สไปรูไลนาและสาหร่ายขนแมวคล้ายกันมาก ถ้าต้องการเห็นความแตกต่างต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงตั้งแต่ ๔๐๐ เท่าขึ้นไป หรือวิเคราะห์ปริมาณแกมมาไลโนลินิกในเซลล์สไปรูไลนา ซึ่งจะเห็นสีเขียวสีเดียวและในสไปรูไลนาจะมีแกมมาไลโนลินิก
สไปรูไลนาเป็นพืชเขตร้อน พบได้ทั้งในทวีปอเมริกา อัฟริกา และเอเซีย
มีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ มีทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
แต่ส่วนใหญ่พบในน้ำจืด เจริญเติบโตดีในน้ำที่มีความเป็นด่างสูง ซึ่งสิ่งมีชีวิตอื่นเจริญเติบโตได้ค่อนข้างยาก
สำหรับประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สไปรูไลนามีฟองอากาศอยู่ภายในเซลล์ (pseudovacuole) ทำให้มันลอยตัวได้เมื่ออยู่ในน้ำนิ่ง
สไปรูไลนาสืบพันธุ์โดยการหักเป็นท่อนแล้วยาวต่อไป
เราจะพบสไปรูไลนาได้ง่ายในน้ำที่ค่อนข้างเสีย หรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย เช่น บ่อบำบัดน้ำเสียของนิคมอุตสาหกรรมลำพูน บ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเมืองสกลนคร บ่อบำบัดน้ำเสียเนื่องด้วยพระราชดำริที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี คลองเก้าเส้งที่จังหวัดสงขลา หรือบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตน้ำจืด
สไปรูไลนาเป็นชื่อเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นชื่อสกุลของมัน คือ Spirulina มีความหมายว่าเกลียว เพราะโดยปกติเซลล์ของสไปรูไลนาจะบิดเป็นเกลียว ส่วนชื่อ สาหร่ายเกลียวทองเป็นชื่อที่คุณเจียมจิตต์ บุญสม อดีตนักวิชาการของกรมประมง ซึ่งเป็นคนแรกที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสไปรูไลนาในประเทศไทยตั้งขึ้นโดยให้ เหตุผลในการตั้งว่ามันมีลักษณะเป็นเกลียวและมีค่าดั่งทอง จึงตั้งชื่อว่า สาหร่ายเกลียวทอง แต่ต่อมาชื่อนี้จะมีปัญหาในทางการค้าและโฆษณา ซึ่งทางบริษัทกรีนไดมอนด์ จำกัด ของคุณเจียมจิตต์ได้จดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว
ประโยชน์ของสไปรูไลนา
สไปรูไลนาเป็นสาหร่ายที่ชาวพื้นเมืองในทวีปอเมริกาและ อัฟริกาใช้เป็นอาหารประจำวันมาเป็นเวลาหลายพันปี
มีรายงานที่หาอ่านได้ว่า ที่ประเทศชาด (Chad)
ซึ่งอยู่ใจกลางทะเลทรายสะฮารา ชาวพื้นเมืองเก็บสาหร่ายสไปรูไลนาจากทะเลสาบโจฮานน์
ซึ่งมีสไปรูไลนาขึ้นอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ โดยช้อนด้วยตะกร้าที่สานด้วยกกนำไปตากแห้ง
บดเป็นผง ใช้ผสมกับแป้งสาลีทำขนมปัง ทำซุป หรือทำขนมหวาน สไปรูไลนาเป็นอาหารโปรตีนอย่างเดียวของผู้คนในละแวกนั้น
และยังเป็นอาหารหลักประจำวันมาจนถึงปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เริ่มสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสไปรูไลนาเมื่อ
๔๐ ปีก่อน และพบว่าสไปรูไลนามีโปรตีนสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโน ๑๘ ชนิด มีไขมันต่ำ มีไวตามิน
และเกลือแร่หลายชนิด และมีสารรงควัตถุหลายชนิด ในแง่ของอาหาร สไปรูไลนากลายเป็นอาหารมหัศจรรย์
เป็นอาหารธรรมชาติที่มีโปรตีน ไวตามิน เกลือแร่ และอื่นๆ อยู่ในสภาพสมดุลยิ่ง
ย่อยได้ง่าย เป็นอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารพิษ ไม่เกิดผลข้างเคียงแม้จะกินในปริมาณมากหรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน
ศาสตราจารย์ฮิโรชิ นากามูระ แห่งประเทศญี่ปุ่น แนะนำให้ใช้สไปรูไลนารักษาสุขภาพ
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหรือมีสภาวะต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. เหนื่อยง่าย
และกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ
๒. เป็นหวัดง่าย
๓. กินผักสดหลากหลายชนิดได้ไม่เพียงพอ
๔. วิงเวียนศีรษะอยู่เสมอ
๕.
ชอบหรือไม่ชอบอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรุนแรงจนก่อให้เกิดอาการขาดสารอาหาร
๖.
รู้สึกเจ็บถึงกระดูกแม้เมื่อกดเนื้อเบาๆ
๗. ไม่กินอาหารเช้า
๘. กำลังอดอาหารเพื่อลดความอ้วน
๙. หญิงมีครรภ์
๑๐. คนเพิ่งฟื้นไข้
นอกจากจะเป็นอาหารที่ดี สไปรูไลนายังช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด
การทดลองใช้สไปรูไลนารักษาโรคในระยะแรกศึกษาโดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ในระยะต่อมาจึงมีการศึกษาโดยนักวิจัยในหลายประเทศ
เช่น จีน อเมริกา อินเดีย รัสเซีย ฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นต้น มีรายงานว่าสารซัลโฟลิปิดและแคลเซียมสไปรูแลนหรือซัลเฟตโพลีแซคคาไรด์ในสไป
รูไลนาสามารถต้านไวรัสได้ ส่วนเบต้า-แคโรทีน ซึ่งมีมากในสไปรูไลนา พบว่าช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้
นอกจากจะใช้กับคน
สไปรูไลนายังนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แพะ วัว ควาย ไก่ นก หมู กุ้ง ปู ปลา หรือหอย นอกเหนือจากประโยชน์ทางอาหารและการรักษาโรค
สไปรูไลนายังมีประโยชน์ด้านอื่นอีก เช่น สกัดไฟโคไซยานินในสไปรูไลนา ซึ่งให้สีน้ำเงิน
หรือสีฟ้าไปใช้เป็นสีผสมอาหาร ยา หรือเครื่องสำอางได้และในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถใช้สไปรูไลนาช่วยควบ
คุมคุณภาพของน้ำ รวมทั้งใช้บำบัดน้ำเสีย
ดร.ทาดายา ทาคิชิ แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และทันตแพทย์ศาสตร์แห่งชาติ
โตเกียว พบว่าการให้คนไข้เบาหวานอาการค่อนข้างหนัก กินสไปรูไลนาควบคู่ไปกับการคุมอาหารอย่างเข้มงวดได้ผลดีในการรักษา
ดังตารางข้างล่าง
ตาราง ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
หลังจากรักษาด้วยการกินสไปรูไลนา ๑๐ กรัม (แห้ง) ควบคู่กับการคุมอาหาร
ก่อนการ
รักษา |
รักษาแล้ว
๓๐ วัน |
รักษาแล้ว
๖๐ วัน |
ค่าปกติ
|
|
คนไข้รายที่
๑
|
||||
ท้องว่าง
|
๑๒๘
|
๑๑๖
|
๙๖
|
(ต่ำกว่า ๑๐๐)
|
๓๐ นาทีหลังอาหาร
|
๑๕๘
|
๑๖๒
|
๑๕๔
|
|
๖๐ นาทีหลังอาหาร
|
๒๐๖
|
๑๖๘
|
๑๖๘
|
ต่ำกว่า
๑๗๐
|
๙๐ นาทีหลังอาหาร
|
๑๗๒
|
๑๓๐
|
๑๒๒
|
|
๑๒๐ นาทีหลังอาหาร
|
๑๓๔
|
๑๐๔
|
๙๔
|
ต่ำกว่า
๑๒๐
|
คนไข้รายที่
๒
|
||||
ท้องว่าง
|
๑๗๖
|
๑๒๒
|
๑๐๒
|
(ต่ำกว่า ๑๐๐)
|
๓๐ นาทีหลังอาหาร
|
๒๑๒
|
๒๐๐
|
๑๖๘
|
|
๖๐ นาทีหลังอาหาร
|
๒๓๘
|
๒๓๖
|
๑๗๐
|
ต่ำกว่า
๑๗๐
|
๙๐ นาทีหลังอาหาร
|
๑๙๖
|
๑๗๔
|
๑๓๖
|
|
๑๒๐ นาทีหลังอาหาร
|
๑๓๖
|
๑๒๐
|
๙๘
|
ต่ำกว่า
๑๒๐
|
คนไข้รายที่
๓
|
||||
ท้องว่าง
|
๒๑๒
|
๑๗๒
|
๑๘๐
|
(ต่ำกว่า ๑๐๐)
|
๓๐ นาทีหลังอาหา
|
๒๖๖
|
๑๙๔
|
๒๐๖
|
|
๖๐ นาทีหลังอาหาร
|
๓๕๔
|
๒๒๖
|
๑๙๘
|
ต่ำกว่า
๑๗๐
|
๙๐ นาทีหลังอาหาร
|
๓๖๐
|
๒๐๒
|
๑๘๐
|
|
๑๒๐ นาทีหลังอาหาร
|
๓๘๐
|
๑๗๘
|
๑๔๖
|
ต่ำกว่า
๑๒๐
|
ที่มา : เจียมจิตต์, ๒๕๓๕
ตาราง ส่วนประกอบทางเคมีของสไปรูไลนา (กรัม/๑๐๐ กรัมน้ำหนักแห้ง)
ห้องปฏิบัติการ
สหประชาชาติ |
จีดี-๑
บ.กรีนไดมอนด์ |
ลินากรีน
บ.สยามแอลจี |
ภาควิชาชีววิทยา
ม.เชียงใหม่ |
|
โปรตีน
|
๗๑.๐
|
๖๓.๔
|
๕๕.๗
|
๖๘.๖
|
คาร์โบไฮเดรต
|
-
|
๒๓.๐
|
-
|
๑๓.๐
|
ไขมัน
|
-
|
๐.๑๒
|
๖-๙
|
๖.๖
|
เถ้า
|
๙.๐
|
๖.๔๐
|
-
|
๖.๑
|
เส้นใยอาหาร
|
๐.๙
|
๑.๙๐
|
๒-๔
|
๗.๔
|
พลังงาน (กิโลแคลอรี่/กรัม)
|
-
|
๓.๖๖
|
-
|
๕.๓๑
|
เครื่องหมาย - แสดงว่าไม่ได้วิเคราะห์
ที่มา : ยุวดี , ๒๕๔๔
ตาราง กรดอะมิโนในสไปรูไลนาจากหลายแหล่งเลี้ยง (กรัม/๑๐๐ กรัม น้ำหนักแห้ง)
ที่มา : ยุวดี , ๒๕๔๔
ตาราง กรดอะมิโนในสไปรูไลนาจากหลายแหล่งเลี้ยง (กรัม/๑๐๐ กรัม น้ำหนักแห้ง)
กรดอะมิโน
|
จีดี-๑
บ.กรีนไดมอนด์
|
สาหร่ายฮอดทอง
หจก. สงขลายอดทอง
|
ภาควิชาชีววิทยา
ม.เชียงใหม่
|
ไอโซลิวซิน
|
๒.๗๒
|
๐.๘
|
๒.๘
|
ลิวซีน
|
๔.๘๒
|
๒.๐๖
|
๔.๘๑
|
ไลซีน
|
๒.๕๙
|
๑.๐๖
|
๒.๐๗
|
เมทไธโอนิน
|
๑.๐๖
|
๐.๕
|
๑.๑๖
|
ฟินิลอะลานีน
|
๒.๙๑
|
๐.๙๙
|
๒.๒๐
|
ทรีโอนิน
|
๒.๗๘
|
๑.๒๖
|
๓.๒๐
|
ทริปโตแฟน
|
๐.๗๔
|
๐.๑๗
|
๐.๘๑
|
วาลีน
|
๒.๙๙
|
๐.๑๓
|
๒.๘๑
|
อะลานิน
|
๔.๒๐
|
๒.๑๗
|
๓.๖๓
|
อาร์จินิน
|
๓.๗๙
|
๑.๕๓
|
๔.๑๗
|
แอสปาติกแอซิด
|
๕.๑๘
|
๒.๕๙
|
๕.๗๗
|
ซีสตีน
|
๐.๕๔
|
๐.๐๔
|
๐.๐๘
|
กลูตามิคแอซิด
|
๗.๗๙
|
๓.๖๘
|
๘.๗๔
|
ไกลซีน
|
๒.๖๖
|
๑.๑๕
|
๒.๓๖
|
ฮิสติตีน
|
๐.๘๒
|
๐.๖๗
|
๐.๘๑
|
โพลลีน
|
๒.๑๖
|
๑.๐๓
|
๑.๘๒
|
ซีริน
|
๒.๙๐
|
๑.๕๒
|
๓.๐๑
|
ไทโรชิน
|
๒.๓๕
|
๐.๖๒
|
๒.๑๖
|
ตาราง เกลือแร่ในสไปรูไลนา (มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัมน้ำหนักแห้ง
จีดี-๑ บ.กรีนไดมอนด์
|
ภาควิชาชีววิทยาม.เชียงใหม่
|
ยอดทอง หจก.ยอดทอง สงขลา
|
|
แคลเซียม
|
๗๕.๐๙
|
๑,๒๓๐.๑๒
|
๑๘๗.๐๐
|
ฟอสฟอรัส
|
๔๓๖.๗๐
|
๗๐๐.๐๖
|
๕๔.๕๐
|
แมกนิเซียม
|
๒๑๖.๙๗
|
๓๙๐.๐๔
|
๒๔๗.๖๗
|
แมงกานีส
|
๑.๙๔
|
๒.๗๔
|
๖๙.๐๐
|
เหล็ก
|
๓๖.๘๕
|
๒๔.๙๕
|
๑๑๖.๐๐
|
สังกะสี
|
๑.๓๗
|
๓.๘๗
|
๑๑.๐๐
|
หมายเหตุ องค์ประกอบทางเคมี กรดอะมิโน และเกลือแร่ในสไปรูไลนาจะแตกต่างกันในแต่ละครั้ง
แต่ละตัวอย่าง แต่ละแหล่ง เพราะองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ผันแปรตามชนิดสายพันธุ์
ฤดูกาล สภาพแวดล้อม ปุ๋ย หรือสารที่ใช้เป็นอาหารและระยะการเจริญเติบโตของสไปรูไลนา
ตาราง วิตามินและสารรงควัตถุในสไปรูไลนา
ไบโอติน (เอช)
|
เฉลี่ย
|
๐.๔
|
มก./กก.
|
ไซยาโนโคบาลามิน (บี ๑๒)
|
เฉลี่ย
|
๒.๐
|
มก./กก.
|
ดี แคลเซี่ยม แพนโตธิเนต
|
เฉลี่ย
|
๑๑.๐
|
มก./กก.
|
กรดโฟลิก
|
เฉลี่ย
|
๐.๕
|
มก./กก.
|
อิโนซิทอล
|
เฉลี่ย
|
๓๕๐.๐
|
มก./กก
|
กรดนิโคตินิก (พีพี)
|
เฉลี่ย
|
๑๑๘.๐
|
มก./กก
|
ไพรีดอกซีน (บี ๖)
|
เฉลี่ย
|
๓.๐
|
มก./กก.
|
ไรโบฟลาวิน (บี ๒)
|
เฉลี่ย
|
๔๐.๐
|
มก./กก
|
ไทอามีน (บี ๑)
|
เฉลี่ย
|
๕๕.๐
|
มก./กก
|
โทโคแรอล (อี)
|
เฉลี่ย
|
๑๙๐.๐
|
มก./กก
|
คาโรทีนอยด์
|
๔,๐๐๐
|
มก./กก
|
|
คาโรทีน
|
เฉลี่ย
|
๑,๗๐๐
|
มก./กก.
|
แซนโทฟลีส
|
เฉลี่ย
|
๑,๐๐๐
|
มก./กก
|
คริพโตแซนทิน
|
เฉลี่ย
|
๕๕๖
|
มก./กก
|
อีคินีโนน
|
เฉลี่ย
|
๔๓๙
|
มก./กก
|
ซีแซนทิน
|
เฉลี่ย
|
๓๑๖
|
มก./กก
|
ที่มา : เจียมจิตต์, ๒๕๓๕
การเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา
การเพาะเลี้ยงสไปรูไลนามีองค์ประกอบหลายอย่างที่สำคัญต่อการเพาะเลี้ยง
ได้แก่ สารอาหารหรือปุ๋ย แสง อุณหภูมิ น้ำ ภาชนะ การทำให้น้ำหมุนวน ความเป็นกรดด่าง(พีเอช)
ความหนาแน่นหรือปริมาณของหัวเชื้อ และการต่อเชื้อ หรือการใส่ปุ๋ยเมื่อปุ๋ยหมด
๑.สารอาหารหรือสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง
เมื่อมีการศึกษาถึงชนิดและปริมาณของสารอาหารที่สไปรูไล
นาต้องการ รวมทั้งสารที่จะช่วยให้สารอาหารเหล่านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้เกิดสูตรอาหารมากมายหลายสูตร
สูตรอาหารต้นแบบที้เพาะลี้ยงสไปรูไลนานั้น นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงสไปรูไลนาในห้องปฏิบัติการหรือใช้ผลิตสไปรูไลนาเพื่อ
การค้า โดยคาดว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงโดยเฉพาะในเรื่องของโปรตีน คือ สูตร Zarrouk ประกอบด้วยสารต่างๆ หลายชนิด
- สูตรอาหาร Zarrouk
สาร
|
กรัม/ลิตร
|
๑.โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO๓)
|
๑๖.๘๐
|
๒.โซเดียมไนเตรต (NaNO๓)
|
๒.๕๐
|
๓.
ไดโปแตสเซยมไฮโดรเจนออร์โธฟอสเฟตี (K๒HPO๔)
|
๐.๕๐
|
๔.โปแตสเซียมซัลเฟต (K๒SO๔)
|
๑.๐๐
|
๕.แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO๔.๗H๒O)
|
๐.๒๐
|
๖. เกลือแกง (NaCl)
|
๑.๐๐
|
๗. แคลเซียมคลอไรด์ ๒-ไฮเดรต (CaCl๒)
|
๐.๐๔
|
๘.เฟอรัสซัลเฟต ๗-ไฮเดรต (FeSO๔.๗H๒O)
|
๐.๐๑
|
๙.โซเดียมอีดีทีเอ ๒-ไฮเดรต (Na๒EDTA.๒H๒O)
|
๐.๐๘
|
๑๐.สารละลาย A๕
|
๑ มล./ลิตร
|
๑๑.สารละลาย B๖
|
๑ มล./ลิตร
|
สารละลาย A๕ ประกอบด้วย
|
|
กรดบอริค (H๓BO๓)
|
๒.๘๖
|
แมงกานีสคลอไรด์ ๔ ไฮเดรต (MnCl๒.๔H๒O)
|
๑.๘๐
|
ซิงค์ซัลเฟต ๗-ไฮเดรต (ZnSO๔.๗H๒O)
|
๐.๒๒
|
คอปเปอร์ซัลเฟต ๕ ไฮเดรต (CuSO๔.๕H๒O)
|
๐.๐๘
|
โมลิบดินัมออกไซด์ (MoO๓)
|
๐.๐๑
|
น้ำกลั่น
|
๑,๐๐๐ มล.
|
สารละลาย B๖ ประกอบด้วย
|
|
แอมโมเนียมวานาเดท (NH๔VO๓)
|
๒๒.๙
|
โปแตสเซียมไดโครมิคซลัเฟต ๒๔-ไฮเดรต (K๒Cr๒(SO๔).๒๔H๒O)
|
๙๖.๐
|
นิคเกิลซัลเฟต ๗-ไฮเดรต (NiSO๔.๗H๒O)
|
๔๗.๘
|
โซเดียมทังสเตท ๒-ไฮเดรต (Na๒WO๔.๒H๒O)
|
๑๗.๙
|
ทิทาเนียมซัลเฟต (Ti(SO๔)๓)
|
๔๐.๐
|
โคบอลท์ไนเตรต ๖-ไฮเดรต (Co(NO๓)๒.๖H๒O)
|
๔.๔
|
น้ำกลั่น
|
๑,๐๐๐ มล.
|
สำหรับสารเคมีที่ใช้ เป็นสาร AR เกรด เฟอรัสซัลเฟตจะง่ายขึ้นถ้าเตรียมเป็นสารละลายโดยละลายเฟอรัสซัลเฟต
๐.๒ กรัม ในน้ำกลั่น ๕๐ มิลลิลิตร และละลายโซเดียมอีดีทีเอ ๑.๖ กรัม ในน้ำกลั่น ๕๐
มิลลิลิตร แล้วผสมสารละลายที่เตรียมได้ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน นำไปใช้ในปริมาณ ๕
มิลลิลิตรต่อลิตร
สูตรปุ๋ยที่แนะนำ
ให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสไปรูไลนาปริมาณมาก
สูตรที่ ๑ สำหรับเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา ๑ ตัน หรือน้ำ ๑,๐๐๐ ลิตร
สูตรที่ ๑ สำหรับเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา ๑ ตัน หรือน้ำ ๑,๐๐๐ ลิตร
โซเดียมไนเตรท (NaNO๓)
|
๑๕๐ กรัม
|
|
ไดโปแตสเซียมหรือไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต
(K๒HPO๔ หรือ Na๒HPO๔)
|
๓๐ กรัม
|
|
โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO๓)
|
๑,๐๐๐ กรัม
|
|
อามิ-อามิ หรือกากผงชูรส (ถ้ามี)
ชนิดเจือจาง ๕๐๐ ซีซี หรือ ชนิดเข้มข้น ๑๐๐ ซีซี
*** ละลายปุ๋ยทีละตัวจนได้น้ำใส ถ้าปุ๋ยเกาะกันเป็นก้อนตำให้แหลกก่อน |
สูตรที่ ๒ สำหรับเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา ๑ ตัน หรือ ๑,๐๐๐ ลิตร
โซเดียมไนเตรท (NaNO๓)
|
๑๕๐ กรัม
|
|
ไดโปแตสเซียมหรือไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต
(K๒HPO๔ หรือ Na๒HPO๔)
|
๓๐ กรัม
|
|
โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO๓)
|
๑,๐๐๐ กรัม
|
|
น้ำทะเลในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดตะกอนขุ่นขาว
(ประมาณ ๑๐?๕๐ ลิตร)
|
สูตรที่ ๓ สำหรับเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา ๑ ตัน หรือ ๑,๐๐๐ ลิตร
โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO๓)
|
๓,๐๐๐ กรัม
|
||
โซเดียมไนเตรท (NaNO๓)
|
๕๐๐ กรัม
|
||
|
๑๕๐ กรัม
|
||
โปแตสเซียมซัลเฟต (K๒SO๔)
|
๓๐๐ กรัม
|
||
โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกง (NaCL)
|
๓๐๐ กรัม
|
||
แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO๔.๗H๒O)
|
๖๐ กรัม
|
||
แคลเซียมคลอไรท์ (CaCl๒)
|
๑๒ กรัม
|
||
เฟอรัสซัลเฟต (FeSO๔.๗H๒O)
|
๓ กรัม
|
||
โซเดียมอีดีทีเอ (Na๒EDTA)
|
๒๔ กรัม
|
||
อามิ-อามิ หรือกากผงชูรส (ถ้ามี)
ชนิดเจือจาง ๕๐๐ ซีซี หรือ ชนิดเข้มข้น ๑๐๐ ซีซี
*** สารเคมี:ใช้สารเกรดการค้าที่มีโลหะหนักน้อย |
สำหรับการเพาะเลี้ยงสไปรูไลนาเพื่อ ใช้กับสัตว์
ทำได้ทำนองเดียวกับการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้กับคน แต่พิถีพิถันน้อยกว่า สะอาดน้อยกว่า
เลี้ยงในบ่อดินได้ และไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเป็นปุ๋ย อาจจะใช้มูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก หรือของเหลือจากอุตสาหกรรมบางประเภท
สูตรปุ๋ยที่แนะนำมีดังนี้
สูตรที่ ๑ ใช้มูลสัตว์ สำหรับเพาะเลี้ยง ๑ ตัน
มูลวัวหรือมูลไก่แห้ง
|
๒ กิโลกรัม
|
|
โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO๓)
|
๑ กิโลกรัม
|
|
*** แช่มูลวัวหรือมูลไก่แห้ง ในน้ำ ๒๐ - ๕๐ ลิตร
เป็นเวลา ๗ วัน แล้วกรองเอาน้ำไปใช้
|
สูตรที่ ๒ ใช้ปุ๋ยหมัก สำหรับเพาะเลี้ยง
๑ ตัน
ปุ๋ยหมัก
|
? กิโลกรัม
|
|
โซเดียม ไบคาร์บอเนต (NaHCO๓)
|
๑ กิโลกรัม
|
๒. แสง
สไปรูไลนาเป็นพืช
เจริญเติบโตด้วยการสังเคราะห์แสง แสงเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง
ถ้าเป็นการเพาะเลี้ยง เพื่อเก็บรักษาหรือสร้างหัวเชื้อในห้องปฏิบัติการ หรือการเพาะเลี้ยงในขวดแก้วขนาดไม่เท่ากัน
๑๐ ลิตร ใช้แสงนีออนแทนแสงแดดได้ แต่ถ้าเป็นการเลี้ยงปริมาณมากเพื่อเก็บผลผลิตควรใช้แสงแดด
เพราะต้องเพาะในภาชนะใหญ่ หากจะใช้แสงเทียมควรเป็นแสงไฟที่มีความยาวคลื่นสูง ไม่ใช่หลอดนีออนหรือหลอดใสธรรมดา
จะสิ้นเปลืองและเป็นการล่อแมลงมาลงในถังหรือบ่อเพาะ ความเข้มของแสงที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการคือ
๘,๐๐๐ ลักซ์ หรือวางขวดเพาะห่างจากหลอดนีออนประมาณ
๕ เซนติเมตร แต่การเพาะเลี้ยงโดยใช้แสงแดด ความเข้มแสง ๑๐ กิโลลักซ์ขึ้นไป ความเข้มข้นของแสงจะขึ้นกับฤดูกาล
สถานที่ ชนิดของภาชนะ ความลึก และขนาดปากภาชนะ
รวมทั้งความหนาแน่นหรือปริมาณของสไปรูไลนาในน้ำเลี้ยง สามารถทราบได้ว่าปริมาณแสงเหมาะสมหรือไม่
จากการสังเกตสีของสไปรูไลนา ถ้าสไปรูไลนามีสีจางลงคล้ายสีของคลอเรลลาหรือเป็นสีเขียวตองแสดงว่าแสงค่อน
ข้างมาก หากสไปรูไลนาสีจางแบบมองเหมือนสีเปื้อนฝุ่น แสดงว่าแสงมากเกินไปควรหาทางปรับลดแสงลง
อาจจะกั้นผ้าพรางแสง ที่เรียกว่าไซแรน หรือย้ายภาชนะที่ใช้เพาะเลี้ยงไปวางในที่ๆ
มีแสงน้อยลง แต่ต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป จะทำให้สไปรูไลนาตาย ถ้าแสงน้อยเกินไปสไปรูไลนาจะมีสีเข้มแต่เพิ่มจำนวนช้า
หากเพาะเลี้ยงแล้ว ๗ วัน สไปรูไลนาในน้ำ ๑ ลิตร ยังได้น้อยกว่า ๑ ช้อนกาแฟ
หรือไม่ถึง ๒ กรัม แสดงว่าแสงน้อยเกินไป สำหรับการเพาะเลี้ยงเพื่อเก็บผลผลิตแต่เหมาะที่จะเพาะทำหัวเชื้อ
จึงควรหาวิธีให้ถังหรือบ่อเพาะเลี้ยงได้รับแสงมากขึ้น
๓. อุณหภูมิ
๓. อุณหภูมิ
สไปรูไลนาในธรรมชาติเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ
๓๐-๔๒ ๐C แต่สำหรับสายพันธุ์ที่แนะนำให้เพาะเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ
๓๐?๓๕ ๐C ถ้าอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันมากเกิน
๑๐ ๐C สไปรูไลนาเจริญเติบโตได้ไม่ดี
ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิสูง แต่ไม่มีแสงแดดสไปรูไลนาจะอ่อนแอลงหรือตายได้
๔. การทำให้น้ำหมุนวน
๔. การทำให้น้ำหมุนวน
สไปรูไลนาเป็นแพลงก์ตอน
คือล่องลอยอยู่ในน้ำที่หมุนวน ทำให้ทุกเส้นสายของสไปรูไลนามีโอกาสผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันรับแสงเพื่อใช้
ในการสังเคราะห์แสง ทำให้อุณหภูมิของน้ำมีค่าใกล้เคียงกันทั้งภาชนะ และทำให้มีออกซิเจนเพียงพอสำหรับการหายใจในตอนกลางคืน
การทำให้น้ำหมุนวนทำได้หลายวิธี เช่น การใช้กังหันรอบช้าในบ่อรูปไข่ การใช้ใบพัดแบบเข็มนาฬิกาในบ่อกลม
หรือการใช้หัวทราย หรือท่อเอสลอนเจาะรูต่อกับปั้มลม ข้อสำคัญคือต้องให้เกิดการเคลื่อนของมวลน้ำอย่างทั่วถึงแต่ไม่รุนแรง
เพื่อไม่ให้สไปรูไลนาตกตะกอนตายอยู่ก้นถังหรือบ่อเพาะ และเพื่อไม่ให้เส้นสายของสไปรูไลนาบอบช้ำแตกหัก
เพราะเซลล์ของสไปรูไลนาบอบบางแตกหักง่าย ในช่วงที่มีแสงแดด อากาศร้อน ควรให้น้ำหมุนวนตลอดเวลา
ถ้าน้ำนิ่งประมาณ ๑ ชั่วโมง สไปรูไลนาจะลอยขึ้นมาอยู่ที่ฝังน้ำอย่างหนาแน่น
หรือตกตะกอนอยู่กันภาชนะ ทำให้สังเคราะห์แสงไม่ได้และมีออกซิเจนไม่เพียงพอในการหายใจ
เนื่องจากเมื่ออากาศร้อนออกซิเจนจากอากาศละลายในน้ำได้น้อยลง สไปรูไลนาจะตายได้
แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำและความหนาแน่นไม่มาก การหยุดทำให้น้ำหมุนเกิน ๒ ชั่วโมง
จะไม่มีปัญหาอะไร
๕. น้ำ
น้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสไปรูไลนาเพื่อเป็นหัวเชื้อใน
ห้องปฏิบัติการ คือ น้ำกลั่น เพื่อให้บริสุทธิ์สะอาด แต่น้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงสไปรูไลนาปริมาณมากจะเป็นน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน
น้ำบ่อ หรือน้ำบาดาลที่ใสสะอาดไม่มีโลหะหนัก ใช้หุงต้มได้ก็ได้ น้ำบ่อหรือน้ำบาดาลมักจะใช้ได้ผลดีกว่าน้ำประปา
เนื่องจากมีสารปริมาณน้อยที่สไปรูไลนาต้องการอยู่ด้วย ถ้าเป็นน้ำในแหล่งที่มีหินปูนมากอาจจะช่วยให้ลดปุ๋ยได้มาก
แต่น้ำฝนไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เพาะเลี้ยงสไปรูไลนา เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นกรดและมีปุ๋ยน้อย
แต่ถ้าเป็นน้ำฝนที่ถูกกักเก็บไว้นานจนพีเอชไม่เป็นกรดก็สามารถใช้ได้
๖. ความเป็นกรด-ด่าง
สไปรูไลนาเป็นแพลงก์ตอนในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
เจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่เป็นด่าง โดยทั่วไปสไปรูไลนาเจริญเติบโตได้ดีที่ความเป็นกรด-ด่าง
หรือพีเอชของน้ำอยู่ระหว่าง ๘.๕-๑๑.๐ การเลี้ยงสไปรูไลนาในน้ำที่มีพีเอชประมาณ ๑๐ จะทำให้แพลงก์ตอนในกลุ่มอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคเจริญเติบโต
ไม่ได้
ในสูตรอาหารจึงใส่โซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งนอกจากจะทำให้น้ำเป็นด่างแล้วยังเป็นแหล่งคาร์บอนที่สำคัญด้วย
ในแหล่งน้ำที่มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์แต่พีเอชประมาณ ๗-๘ จะพบสไปรูไลนาเจริญเติบโตร่วมกับแพลงก์ตอนชนิดอื่นๆ
ดังนั้นเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งมีชิวตอื่นควรปรับน้ำเลี้ยงให้มีพีเอ ช
๙.๕-๑๐.๐
๗. ภาชนะที่ใช้เพาะเลี้ยง
การเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมักจะใช้หลอดทดสอบจานแก้ว
หรือหลอดแก้ว เพราะเพาะเลี้ยงปริมาณน้อยและทำความสะอาดได้ง่าย แต่การเพาะเลี้ยงปริมาณมากเพื่อเก็บผลผลิต
อาจจะใช้ถุงพลาสติกใส ตู้ปลา ถังพลาสติก ถังไฟเบอร์ บ่อซีเมนต์ บ่อดิน
หรือบ่อดินปูพลาสติกก็ได้ โดยตู้ปลาต้องใช้ในที่ๆ อุณหภูมิค่อนข้างสม่ำเสมอ เพราะอุณหภูมิในตู้ปลาเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิอากาศได้เร็ว
ถ้าอุณหภูมิระหว่างกลางวัน และกลางคืนแตกต่างกันมาก สไปรูไลนาที่เลี้ยงในตู้ปลาจะตายได้ง่าย
ถ้าเป็นไปได้ควรลึก ๓๐-๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นถังไฟเบอร์
ถังพลาสติกหรือบ่อซีเมนต์ไม่ควรลึกเกิน ๗๐ เซนติเมตร
ส่วนบ่อดินเหมาะกับการผลิตสไปรูไลนาเพื่อเป็นอาหารของสัตว์
๘.
ความหนาแน่นหรือปริมาณของหัวเชื้อ
การเพาะเลี้ยงสไปรูไลนาในห้องปฏิบัติการที่ควบคุม
อุณหภูมิอยู่ที่ ๒๐-๒๕ องศาเซลเซียส และควบคุมแสงอยู่ที่ ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ ลักซ์หรือต่ำกว่านั้น
ใส่สไปรูไลนาเพียงเส้นเดียวลงในหลอดทดสอบ หรือใส่สไปรูไลนาเพียงเล็กน้อยลงในขวดแก้ว
สไปรูไลนาสามารถเจริญเติบโตได้อย่างช้าๆ แต่ถ้าเพาะเลี้ยงสไปรูไลนากลางแจ้งต้องให้มีความหนาแน่นของหัวเชื้อมากพอ
นั่นคือควรใส่หัวเชื้อในปริมาณ ๒ กรัม (เปียก) ต่อน้ำ ๑ ลิตร หรือในน้ำเลี้ยง ๓
ลิตร มีสไปรูไลนา ๑ ช้อนกาแฟ หรือช้อนโยเกิตดัชชี ถ้าแดดจัดแต่ใส่หัวเชื้อน้อย
กว่านี้เซลล์สไปรูไลนาจะถูกฟอกให้ซีดจางและตายไป
กว่านี้เซลล์สไปรูไลนาจะถูกฟอกให้ซีดจางและตายไป
๙. การต่อเชื้อหรือการใส่ปุ๋ยเมื่อปุ๋ยหมด
สไปรูไลนาเป็นพืชล้มลุกที่มีวงจรสั้นมาก
ประกอบกับสูตรปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้มีปริมาณปุ๋ยที่ค่อนข้างต่ำ เพื่อให้เก็บผลผลิตได้ภายใน
๑๐ วัน ดังนั้นหากสไปรูไลนาใช้ปุ๋ยหมดแล้วหรือเจริญเติบโตเต็มที่แล้วยังไม่ต่อ เชื้อคือไม่ย้ายเชื้อไปเพาะเลี้ยงในภาชนะใหม่
ไม่เก็บผลผลิตแล้วใส่ปุ๋ยใหม่ สไปรูไลนาอาจจะตายได้
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงสไปรูไลนา
๑.
การเตรียมหัวเชื้อในห้องปฏิบัติการ
สไปรูไลนาที่แนะนำให้กินสดเป็นสายพันธุ์ที่ยืดเป็นเส้น
ตรงและเป็นสายพันธุ์ของไทย ที่ได้มาจากสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถ้าเป็นไปได้ผู้เพาะเลี้ยงควรเลี้ยงหัวเชื้อสไปรูไลนาในจานวุ้น โดยใส่วุ้น ๑.๕%
ใช้ปุ๋ยสูตร Zarrouk โดยไม่เติมสารละลาย
A๕ และ B๖ เลี้ยงที่อุณหภูมิ ๒๐-๒๕ ๐C โดย ให้แสงวันละ ๑๒ ชั่วโมง
เมื่อสไปรูไลนาเจริญเติบโตโดยไม่มีจุลินทรีย์อื่นปน จึงย้ายลงเลี้ยงในหลอดทดสอบที่ใส่วุ้นที่เทแบบเอียง
เลี้ยงสไปรูไลนาจนขึ้นดีจึงนำไปเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ ๔-๕ ๐C ไว้ใช้ในรุ่นต่อๆ ไป
๒. การเตรียมเชื้อตั้งต้น
นำหัวเชื้อที่เก็บไว้มาเลี้ยงในน้ำเลี้ยงในห้องปฏิบัติ
การจนได้ปริมาณมากพอที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเริ่มต้นในการเพาะเลี้ยงเพื่อเก็บ ผลผลิต
โดยเพาะหัวเชื้อให้ได้มากพอหรือคำนวณให้ในน้ำที่เพาะเลี้ยง ๓ ลิตร มีสไปรูไลนา ๑
ช้อนกาแฟ เมื่อเริ่มขยายหัวเชื้อนอกห้องปฏิบัติการใส่หัวเชื้อ ๒ กรัม (เปียก)
ต่อน้ำ ๑ ลิตร หากไม่ได้เตรียมหัวเชื้อเองสามารถติดต่อขอบริการได้ที่ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
กรมประมง จังหวัดสงขลา หรือ หน่วยให้คำปรึกษาและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือ ภาควิชาเพาะเลี้ยง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรุงเทพฯ
ที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปัจจุบัน
เริ่มจำหน่ายหัวเชื้อลิตรละ ๑ บาท คือ ถ้าต้องการเพาะเลี้ยง ๑๐๐ ลิตร ก็ซื้อหัวเชื้อ
๑๐๐ บาท ปริมาณเชื้อที่ได้ไปสามารถเพาะได้ ๑๐๐ ลิตร ไม่ว่าจะได้ไปกี่ถุง
เพราะจำนวนถุงขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของหัวเชื้อ สามารถกรองสไปรูไลนาให้หนาแน่นขึ้นได้เพื่อลดจำนวนกล่องโฟมที่จะใช้บรรจุ
การลำเลียงพันธุ์โดยบรรจุกล่องโฟมเหมาะสำหรับการลำเลียงระยะไกล ถ้าต้องเดินทางเกิน
๑ วัน ควรเปิดกล่องเทน้ำแข็งที่ละลายแล้วออกเพิ่มน้ำแข็งและปิดผนึกใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ
จนถึงปลายทาง ถ้ายังไม่พร้อมที่จะเพาะเลี้ยงก็นำหัวเชื้อไปเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ ๔ ๐C จนกว่าจะเพาะเลี้ยงจึงนำออกจากตู้เย็น
วางทิ้งไว้จนอุณหภูมิสูงขึ้นเท่ากับอุณหภูมิของน้ำที่จะใช้เลี้ยง
๓. ขนาดภาชนะและการจัดวาง
การเพาะเลี้ยงเพื่อเก็บผลผลิต ควรใช้ภาชนะที่มีความจุไม่ต่ำกว่า
๕๐ ลิตร ภาชนะขนาด ๕๐-๑๐๐ ลิตร ควรวางบริเวณชายคาที่แสงแดดส่องตรง ๑-๒
ชั่วโมงต่อวัน ถ้าเป็นภาชนะที่มีความจุตั้งแต่ ๕๐๐ ลิตร
ให้วางกลางแจ้งโดยมีหลังคาใสกันฝน และมีไซแรนพรางแสงเมื่อแดดแรงมากเกินไป
ล้างภาชนะให้สะอาดตากแดดให้แห้ง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำเคลื่อน
๔. น้ำ
เตรียมน้ำให้พร้อมใช้ ถ้าน้ำมีตะกอนดินต้องพักให้ตกตะกอนก่อน
ถ้ามีคลอรีนควรให้ฟองอากาศเพื่อให้คลอรีนสลายเร็วขึ้น ยังไม่ต้องใส่น้ำลงในภาชนะที่จะเพาะเลี้ยง
๕. ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยเกรดการค้าที่ปลอดภัยในการปลูกพืช
ซื้อได้จากร้านขายเคมีภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีการขายปลีกด้วย ควรมีตาชั่งละเอียดเพื่อชั่งปุ๋ยแต่ละชนิด
สำหรับ อามิ-อามิหรือกากผงชูรสต้องเป็นกากที่มาจากมันสำปะหลังติดต่อซื้อได้ที่ บริษัทอายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะแต่ต้องนำภาชนะ
สำหรับใส่ไปด้วย ในบางพื้นที่อาจจะมีร้านจำหน่ายซื้อจากร้านเหล่านั้นก็ได้
การใส่อามิ-อามิ ช่วยให้สไปรูไลนาเจริญเติบโตดีขึ้นแต่ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่
หากซื้อหัวเชื้อเพื่อไปผลิตเลยโดยไม่ต้องขยายหัวเชื้อในภาชนะเล็กๆ
ควรจะเริ่ม ขั้นตอนดังนี้
๑.
เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะเลี้ยง สำหรับการเริ่มต้นควรเลี้ยงในกล่องพลาสติกรูปสี่เหลี่ยม
ความลึกประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ความจุประมาณ ๑๐๐ ลิตร จำนวน ๒ ใบ จัดวางบริเวณชายคา ด้านทิศตะวันออกได้จะดีกว่าหรือใต้ต้นไม้ที่แสงสว่างตรงลงกล่องได้วันละ
๑-๒ ชั่วโมง ซื้อเครื่องปั้มลม (air
compressor) แบบมีหัวจ่าย ๖ รู พร้อมสายยาง หัวทราย
และตัวปรับลมหรือข้อต่อแยก เพื่อใช้เมื่อขยาย
การเพาะเลี้ยง ล้างถัง
และอุปกรณ์ต่างๆ ตากให้แห้งเตรียมไว้ เตรียมเต้าเสียบปลั๊กไฟของเครื่องปั้มลม
๒.
เตรียมปุ๋ยและเครื่องชั่ง ใช้ปุ๋ยสูตรที่
๑ สูตรที่ ๒ หรือสูตรที่ ๓ ก็ได้ สูตรที่ ๑ ถ้าใส่อามิ?อามิได้ จะให้ผลดีกว่า และถ้าใช้น้ำบ่อหรือน้ำบาดาลได้จะให้ผลดีกว่าใช้น้ำประปา
สูตรที่ ๒ เหมือนสูตรที่ ๑ ต่างกันตรงที่ให้เติมน้ำทะเลแทนอามิ-อามิ เนื่องจากในน้ำทะเลมีสารที่สไปรูไลนาต้องการในปริมาณน้อยๆ
อยู่มาก แต่ต้องปรับใส่ให้เป็นน้ำทะเลที่ใสสะอาด เหมาะสมกับความเค็มของน้ำทะเล โดยใส่น้ำทะเลในสัดส่วนที่ไม่ทำให้เกิดตะกอนขาว
เพราะในน้ำทะเลมีแคลเซียมและแมกนีเซียม ที่จะทำปฏิกิริยากับโซเดียมไบคาร์บอเนตแล้วเกิดตะกรันหรือเกิดตะกอนขาว
ทำให้สูญเสียสารอาหารและรบกวนการเจริญเติบโตของสไปรูไลนา อีกทั้งทำให้การเก็บผลผลิตยุ่งยากขึ้น
สูตรที่ ๓ ปรับจากสูตร Zarrouk โดยใช้เฉพาะสาร ๙ ตัวหลัก
และปรับลดปริมาณลง สูตรนี้แม้จะใช้น้ำประปาก็ให้ผลดีกว่าสูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ ทั้งในเรื่องของผลผลิต
ความแข็งแรงของสไปรูไลนาและปริมาณโปรตีน สำหรับการผลิตเพื่อใช้กับสัตว์
ถ้าใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ต้องแช่น้ำก่อน เพื่อให้จุลินทรีย์ในธรรมชาติช่วยย่อยสลายมูลสัตว์ให้เป็นปุ๋ย
ส่วนการใช้ปุ๋ยหมักใช้ได้เลยเพราะผ่านการย่อยสลายเรียบร้อยแล้ว ถ้าต้องการนำสไปรูไลนาไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลหรือบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำหรือปลา
กะพงขาวให้ปรับเลี้ยงสไปรูไลนาโดยเติมเกลือแกง ๓% ได้ความเค็มประมาณ ๓๐ ส่วนในพันส่วน
สไปรูไลนาจะเจริญเติบโตได้ดีและน้ำเลี้ยงไม่เกิดตะกรันถึงแม้ว่าในสูตรจะใส่ โซเดียมไบคาร์บอเนต
แต่เมื่อจะนำไปใช้
ถ้าไม่แน่ใจว่าโซเดียมไบคาร์บอเนตหมดหรือยังควรช้อนเอา
เฉพาะ สไปรูไลนาไปล้างแบบน้ำไหลผ่านให้โซเดียมไบคาร์บอเนตที่ติดอยู่หลุดออกไปก่อน จึงนำสไปรูไลนาไปใช้
ปุ๋ยที่เป็นสารเคมี ซึ่งปุ๋ยเกรดการค้าที่ปลอดภัยในการนำมาใช้เพาะเลี้ยงสไปรูไลนาหาซื้อปลีกได้
จากร้านขายเคมีภัณฑ์ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดและควรจะซื้อเครื่องชั่งแบบที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ไว้ด้วย
เพื่อใช้ชั่งปุ๋ย
๓.
เตรียมสวิงสำหรับช้อนสไปรูไลนา โดย
ใช้ผ้าที่ใช้สกรีนภาพขนาดตา ๖๐ ไมครอน (๑,๐๐๐ ไมครอน = ๑ มิลลิเมตร) เพราะขนาดตาสม่ำเสมอดี
ทำความสะอาดง่ายและใช้ได้นาน (แต่ต้องไม่ตากแดด) ผ้าสกรีนภาพซื้อได้จากร้านจำหน่ายผ้าสกรีนภาพหรือสอบถามได้จากร้านที่สกรีน
ภาพ กรอบสวิงควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีด้านยาว ๑๐-๑๒ นิ้ว ด้านกว้างประมาณ ๘
นิ้ว จะช้อนสไปรูไลนาในกล่อง ๑๐๐ ลิตรได้ง่าย และควรมีสวิงที่ทำด้วยอวนมุ้งสีขาวอีกอันหนึ่งไว้กรองเศษตะกอนหยาบที่ติดมา
๔. ติดต่อพันธุ์สไปรูไลนา ถ้าซื้อที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ควรซื้อ
๑๐๐ บาท ในการลำเลียงอย่าให้อุณหภูมิสูงเกิน ๒๕ ๐C อาจ จะใส่กล่องโฟมบรรจุน้ำแข็งแล้วปิดผาคาดด้วยเทปสีน้ำตาลจะเก็บได้นาน
สามารถกรองเชื้อให้เข้มข้นได้มาก เพื่อลดจำนวนกล่องโฟมที่ใช้บรรจุเหมาะกับการลำเลียงระยะทางไกลๆ
หรือใส่ไปในรถติดแอร์แต่ต้องไม่ทิ้งไว้ในรถเมื่อดับเครื่องยนต์ ไม่มีแอร์ อุณหภูมิสูงไม่มีแสง
สไปรูไลนาจะตาย
สไปรูไลนาควรเริ่มต้นเพาะเลี้ยงในตอนเช้าโดยต้องดูให้
อุณหภูมิของน้ำที่จะใช้แสงอุณหภูมิของหัวเชื้อสไปรูไลนาเท่ากัน ถ้าไปถึงบ้านตอนเย็นควรเปิดถุงนำสไปรูไลนาใส่ในถังวางในที่เย็นๆ
ให้ฟองอากาศไว้ก่อน ถ้าหากกรองมาอย่างเข้มข้นควรเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ ๔ ๐C ได้
หลายวัน เมื่อพร้อมจะเพาะเลี้ยงจึงนำออกมาเทใส่ภาชนะอื่นให้ฟองอากาศ และตรวจสอบดูว่า
ในหัวเชื้อ ๑ ลิตร มีสไปรูไลนากี่ช้อนกาแฟหรือช้อนโยเกิร์ตดัชชี เพื่อจะได้ทราบว่าจะเพิ่มน้ำได้เท่าไรจึงจะทำให้ในน้ำ
๓ ลิตรที่เริ่มเพาะเลี้ยงมีสไปรูไลนา ๑ ช้อนกาแฟ โดยตักหัวเชื้อ ๑ ลิตร เทลงในสวิงที่ทำด้วยผ้าขนาดตา
๖๐ ไมครอน รอให้น้ำไหลออกจนหยุดหยดเหลือแต่สไปรูไลนาอยู่ในสวิงใช้ช้อนตักดูว่าทั้งหมด
มีกี่ช้อนถ้า ๑ ลิตร มี ๑ ช้อน แสดงว่าเพิ่มน้ำได้ ๒ เท่า ถ้ามี ๒ ช้อน แสดงว่าเพิ่มน้ำได้
๕ เท่า ถ้ามี ๓ ช้อน แสดงว่าเพิ่มน้ำได้ ๘ เท่า ถ้ามี ๔ ช้อน แสดงว่าเพิ่มน้ำได้
๑๑ เท่า ถ้าได้ ๑๐ ช้อนกาแฟ แสดงว่าเพิ่มน้ำได้ ๒๙ เท่า
๕. เอาปริมาณน้ำหัวเชื้อรวมกับน้ำที่จะเพิ่มลงไปจะได้ปริมาณของน้ำเลี้ยง สมมุติว่าหัวเชื้อ ๑ ลิตร มีสไปรูไลนา ๒ ช้อนกาแฟ เพราะฉะนั้น
ถ้ามีหัวเชื้ออยู่ ๒๐ ลิตร ก็จะเพิ่มน้ำได้ ๕ เท่า คือ ๑๐๐ ลิตร รวมเป็น ๑๒๐ ลิตร
ชั่งปุ๋ยทุกตัวสำหรับน้ำ ๑๒๐ ลิตร ละลายปุ๋ยแต่ละตัวด้วยน้ำส่วนที่จะเติมลงไป และใส่น้ำให้มากพอเพื่อให้ปุ๋ยละลายเร็ว
สำหรับโซเดียมไบคาร์บอเนตในสูตรที่ ๓ ต้องใช้น้ำละลายปุ๋ยประมาณ ๑๐-๒๐%
ของน้ำเลี้ยงทั้งหมด ขณะที่เตรียมปุ๋ยควรใส่ถุงมือและปิดจมูกกันฝุ่นปุ๋ยเข้าจมูก ถุงปุ๋ยต้องปิดให้เรียบร้อยไม่ให้อากาศเข้า
เพื่อกันปุ๋ยชื้นเกาะเป็นก้อน ถ้าปุ๋ยเกาะเป็นก้อนทำให้แหลกก่อนนำไปละลาย สำหรับเฟอริสซัลเฟตต้องละลายร่วมกับโซเดียมอีดีทีเอเพราะอีดีทีเอ
จะช่วยให้สไปรูไลนาใช้เฟอริสซัลเฟตได้ ละลายปุ๋ยจนได้น้ำใสไม่มีตะกอน จึงเทลงในกล่องที่จะเลี้ยง
หลังจากนั้นจึงเทหัวเชื้อที่อุณหภูมิเท่ากัน (ใช้นิ้วจุ่มดูก็ได้) ลงไปทำให้น้ำเคลื่อนเป็นการเริ่มต้นเพาะเลี้ยง
๖. คอยสังเกตดูทุก ๑-๒
ชั่วโมง เมื่อแดดเริ่มจัด หากพบว่าสไปรูไลนาสีซีดมองคล้ายเปื้อนฝุ่นแสดงว่าแสงมากเกินไปต้องการไซแร
นกั้นแสงในช่วงนั้นแล้วเปิดออกเมื่อแดดอ่อนลง เพื่อให้สไปรูไลนาเจริญเติบโตได้ดี
ถ้าสไปรูไลนาเจริญเติบโตได้ดี วันรุ่งขึ้นจะเห็นสีน้ำเข้มข้น
๗. ตั้งแต่เพาะเลี้ยงได้ ๒
วัน ตักสไปรูไลนา ๑ ลิตร มาเทใส่สวิง ๖๐ ไมครอน เพื่อดูการเจริญเติบโต ถ้าสภาพเหมาะสมน้ำสไปรูไลนา ๑ ลิตร จะมีสไปรูไลนา ๒ ช้อนกาแฟหลังจากเลี้ยงได้
๒ วัน ถ้า ๑ ลิตร กรองสไปรูไลนาได้ไม่ต่ำกว่า ๑ ช้อนกาแฟ
แสดงว่าสามารถเก็บผลผลิตได้ ถ้าไม่เก็บไปกินก็ขยายกล่องเลี้ยงหรือบ่อเลี้ยงในทำนองเดียวกับตอนเริ่มต้น
ในกรณีนี้เลี้ยงในกล่องจนเก็บผลผลิตได้แล้วก็แบ่งน้ำสไปรูไลนาจากกล่องที่ ๑ ไปเลี้ยงในกล่องที่
๒ เพิ่มน้ำ เพิ่มปุ๋ยตามสัดส่วนทุกครั้งที่มีการเพิ่มน้ำ ยกเว้นกรณีที่ใส่ปุ๋ยเผื่อเอาไว้จากสูตรที่ให้ไว้สามารถใส่ปุ๋ยเผื่อไว้ได้
๓ เท่า การใส่ปุ๋ยเผื่อเอาไว้จะมีส่วนดีที่ช่วยกันสิ่งมีชีวิตอื่นที่จะมาปนเปื้อน และไม่ต้องละลายปุ๋ยบ่อย
เพียงแต่คอยเติมน้ำเมื่อสไปรูไลนาเพิ่มจำนวนขึ้น เมื่อสไปรูไลนาเพิ่มจำนวนจนเก็บเกี่ยวได้
อาจจะรอดูต่อไปอีก ๑-๒ วัน เผื่อว่าสไปรูไลนาจะเพิ่มผลผลิตได้อีก
ในสภาพที่เหมาะสมน้ำสไปรูไลนา ๑ ลิตร จะกรองได้เนื้อสไปรูไลนาถึง ๕ ช้อนกาแฟ
อย่างไรก็ตามถ้ามันไม่เพิ่มขึ้นอีก ให้เก็บผลผลิตได้ จะเก็บเกี่ยวกี่ครั้ง
กี่วันก็ได้ แต่เมื่อเหลือสไปรูไลนา ๑ ช้อนกาแฟในน้ำเลี้ยง ๓ ลิตร ต้องหยุดเก็บและใส่ปุ๋ย
กล่องพลาสติกขนาด ๑๐๐ ลิตร ถ้าเก็บผลผลิตครั้งเดียวจะได้ สไปรูไลนา ๒๐๐-๕๐๐ กรัม
ข้อสังเกต ถ้าสไปรูไลนาที่เพาะเลี้ยงมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ
มองดูคล้ายเมฆสีเขียว ใช้แก้วตักดูไม่เห็นตะกอนแสดงว่าสไปรูไลนาเจริญเติบโตดี
ถ้าสีซีดๆ มีตะกอนแขวนลอย แสดงว่าสไปรูไลนาตายอาจจะร้อนเกินไป
ไม่ได้แสงหรือขาดปุ๋ย ถ้าเพาะเลี้ยงเกิน ๗ วัน จึงได้สไปรูไลนา ๑ ช้อนกาแฟ/ลิตร แสดงว่าแสงน้อยเกินไปไม่เหมาะสำหรับการเลี้ยงเพื่อเก็บผลผลิต
แต่เหมาะสำหรับการเลี้ยงเพื่อเก็บผลผลิต แต่เหมาะสำหรับสำหรับการเก็บรักษาหรือเตรียมหัวเชื้อเพราะจะไม่ค่อยตาย
หากพบสไปรูไลนาเกาะกลุ่มให้ใช้มือตีเบาๆ หรือเพิ่มการเคลื่อนของน้ำอย่าให้เกาะกลุ่ม
ถ้าไม่มีสีเขียวเลยเป็นสีขาว หรือสีน้ำตาลแสดงว่าตายแล้ว
๘.
ระหว่างการเพาะเลี้ยงในช่วงที่อากาศเย็น หรือหลังเที่ยงคืนให้ถอดปลั๊กเครื่องปั้มลม
๒ ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น เพื่อประหยัดไฟยืดอายุการใช้งานของเครื่อง
และเพื่อตรวจดูสภาพของ สไปรูไลนา ถ้าสไปรูไล
นาลอยอยู่ผิวน้ำมาก แสดงว่าสปรูไลนาแข็งแรงและส่วนใหญ่แก่แล้ว ถ้าเห็นน้ำเป็นสีเขียวทั่วภาชนะ แสดงว่าแข็งแรงดีแต่ยังอ่อน แต่ถ้าส่วนใหญ่จมอยู่ข้างล่างแสดงว่าไม่แข็งแรงหรือกำลังขาดปุ๋ย
นาลอยอยู่ผิวน้ำมาก แสดงว่าสปรูไลนาแข็งแรงและส่วนใหญ่แก่แล้ว ถ้าเห็นน้ำเป็นสีเขียวทั่วภาชนะ แสดงว่าแข็งแรงดีแต่ยังอ่อน แต่ถ้าส่วนใหญ่จมอยู่ข้างล่างแสดงว่าไม่แข็งแรงหรือกำลังขาดปุ๋ย
วิธีเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้ามือหรือช่วงอากาศเย็น
โดยหยุดเครื่องทำให้น้ำเคลื่อน ๑-๒ ชั่วโมงถ้าอากาศเย็น หรือหยุดเครื่อง ๕-๑๐ นาที
เมื่ออากาศร้อน แล้วตักน้ำในบ่อ หรือกล่องเพาะใส่สวิงซ้อน ๒ ชั้นโดยสวิงหยาบอยู่บน
สไปรูไลนาจะค้างอยู่ในสวิงขนาด ๖๐ ไมครอน ขณะที่ตะกอนหยาบค้างอยู่ในสวิงตาหยาบ ส่วนน้ำเลี้ยงพร้อมตะกอนขนาดเล็กจะหลุดออกไป
เทน้ำสะอาด (ใช้น้ำแช่น้ำแข็งยิ่งดี)
ลงบนสไปรูไลนาเบาๆ ใช้มือช้อนใต้สวิง ขยับมือเพื่อช่วยให้ทุกเส้นสายของสไปรูไลนาได้รับการล้างท
โดยน้ำไหลผ่านหลายๆ ครั้ง จนสะอาด สไปรูไลนา ๑ ขีด ใช้น้ำล้างประมาณ ๑๕-๒๐ ลิตร
สไปรูไลนาที่ล้างสะอาด สีจะเป็นมันเนื้อละเอียด กลิ้งในถุงพลาสติก ดมดูไม่มีกลิ่นชิมดูไม่ได้รสอื่นยกเว้นหวานมันเล็กน้อย
ถ้ากลืนจะรู้สึกลื่นคอ ล้างเสร็จกินได้ทันที หากยังไม่กินให้บรรจุภาชนะแล้วแช่น้ำแข็งทันที
เพื่อรักษาคุณภาพ
ข้อสังเกต สไปรูไลนาที่แนะนำให้เพาะเลี้ยงเพื่อกินสดจะมีสีเขียวสดใสทําให้สดชื่น
กระปรี้กระเปร่าขึ้น หลังจากกินประมาณ ๑๐ นาที ถ้าทาใบหน้าแล้วทิ้งไว้ให้แห้งจะรู้สึกตึงที่ใบหน้า
ล้างออกจะเห็นใบหน้าสะอาดขึ้น ถ้าปวดท้องอาการจะทุเลาหลังจากกินเข้าไปไม่เกิน ๑
ชม.
เก็บในตู้เย็นใต้ช่องแช่แข็ง
(แต่ไม่เป็นน้ำแข็ง) หรือแช่ในน้ำแข็ง ถ้าแช่ในน้ำแข็งตลอดจะเก็บได้ ๑๔ วัน
หรือเก็บที่อุณหภูมิ ๑-๒ ๐C ได้ นาน ๓-๑๐ วัน แต่ต้องเก็บเกี่ยวมาอย่างดี และไม่นำออกนอกตู้เย็น หากรับประทานไม่หมดภายใน
๗ วัน และไม่ได้แช่น้ำแข็งควรนำไปแช่แข็งหรืออบหรือตากแห้ง จะเก็บในตู้เย็นได้นานแต่คุณค่าทางอาหารจะลดลง
โดยการแช่แข็งคุณค่าจะลดลงน้อยกว่าการทำแห้ง
จึงแนะนำให้กินสไปรูไลนาสดโดยไม่ปรุงแต่ง
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการกินเนื่องจากสไปรูไลนาไม่มีรสชาติที่น่า รังเกียจแต่อย่างใด
ถ้าคนในน้ำแล้วดื่มก็เหมือนดื่มน้ำเปล่า สามารถกินแทนอาหารแต่ละมื้อได้
มีการทดลองกินสไปรูไลนาอย่างเดียว ๓๐-๑๐๗ วัน ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ หากใครหิวเก่ง ควรคนในน้ำดื่มทุกครั้งที่รู้สึกหิวจะช่วยลดความอ้วนได้ดี
และช่วยคนที่ไม่มีเวลากินอาหารได้มาก ถ้ากินก่อนนอนจะหลับสบายและตื่นขึ้นมาสดชื่น
ในการใช้เป็นอาหารของสัตว์
ถ้าเป็นปลาสวยงาม เช่น ปลาหางนกยูง หรือปลาทอง
สามารถใส่สไปรูไลนาสดให้ปลากินได้เลย โดยตักสไปรูไลนาสดใส่ลงไปในตู้ปลา
ปลาจะมาฮุบกินทันที และสามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหารผสมสำหรับสัตว์
หรือใช้สไปรูไลนาสด ๑๐-๒๐ กรัม ปั่นโดยไม่ต้องเติมน้ำให้ละเอียดคลุกอาหารสำเร็จ ๑
กิโลกรัม ให้กุ้งหรือปลากินอย่างน้อยวันละ ๒ มื้อ จะทำให้ปลาสีสดกุ้งสีสวย โตดีและไม่เป็นโรค
สไปรูไลนาที่เพาะเลี้ยงด้วยสูตรที่ ๑
และสูตรที่ ๒ มีโปรตีนประมาณ ๔๕% โปรตีนจะต่ำกว่านี้เมื่อยืดเวลาในการเก็บผลผลิตออกไปที่
๑๓ วัน คือมีโปรตีน ๓๐% สไปรูไลนาที่เพาะเลี้ยงด้วยสูตรที่ ๓ เมื่อเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์โปรตีนพบว่า
ตัวอย่างที่เก็บเมื่อเลี้ยงได้ ๗ วัน มีโปรตีน ๖๙% เมื่อเลี้ยง ๑๐ วัน มีโปรตีน
๖๔% และเมื่อเลี้ยง ๑๓ วัน มีโปรตีน ๕๓%
สไปรูไลนาสดที่ผลิตตามวิธีที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำชายฝั่ง แนะนำ พบแบคทีเรียน้อยมากและไม่พบแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรค สำหรับปริมาณ
โลหะหนัก พบปริมาณแคดเมี่ยม ๐-๐.๐๑๐๔ ส่วนในล้าน ตะกั่ว ๐.๐๕-๐.๑๙๔๐ ส่วนในล้าน
สารหนู ๐.๙-๑.๐๒๕ ส่วนในล้าน ซึ่งไม่เกินมาตรฐาน