วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

คสรท.เสนอรบ.ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ360บาททั่วประเทศ-ราคามะลิวันนี้

    วันที่ 31 มีนาคม ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับสมาชิกคสรท. แถลงข่าวผลการศึกษาค่าครองชีพกับค่าจ้างปัจจุบันของแรงงาน ว่า จากการศึกษาสำรวจค่าครองชีพของแรงงานในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 2,933 คน จาก 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชลบุรี นนทบุรี ระยอง อ่างทอง 

   โดยการการศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรายวันระหว่างเดือนสิงหาคม 2556และเดือนมีนาคม 2558 พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2556 มีค่าใช้จ่ายรวมต่อวันอยู่ที่ 352.53 บาท เดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 360.72 บาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.19 บาท โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเดินทาง/ค่าน้ำมันรถ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ ของใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างสบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น


    น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า แรงงานส่วนใหญ่ที่สำรวจอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ ฯลฯ อายุระหว่าง 20 – 39 ปี ร้อยละ 82.2 ซึ่งพบว่าส่วนมากมีภาระเลี้ยงดูบุคคลอื่นที่ไม่มีรายได้ เช่น บิดา มารดา และพบแรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำถึงร้อยละ 30.93

   ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมการค่าจ้างในเดือนตุลาคมนี้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจาก300 บาท เป็น 360 บาททั่วประเทศ เนื่องจากเห็นว่าค่าครองชีพทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะนำเสนอข้อมูลต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เพื่อใช้พิจารณาในการปรับค่าจ้างต่อไป

    ถามว่าเหตุใดค่าจ้างที่ขอปรับขึ้นจึงต่ำกว่าที่เคยเสนอขอไปก่อนหน้านี้ น.ส.วิไลวรรณ ตอบว่า ก่อนหน้านี้เสนอขอให้รัฐบาลปรับขึ้นเป็น 460 บาท โดยรวมค่าใช้จ่ายในทุกๆ ด้านของแรงงาน แต่ในปีนี้ที่เสนอที่ 360 บาทนั้น ได้ตัดค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าผ่อนสินค้า ค่ารักษาพยาบาลออก จึงทำให้ตัวเลขลดต่ำลง ดังนั้นอัตราที่เสนอในครั้งนี้จึงถือว่ามีแต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะไม่ได้อยากเรียกร้องในอัตราสูงมากจนนายจ้างรับไม่ได้ นอกจากนี้ขอให้รัฐจัดทำโครงสร้างค่าจ้างให้ชัดเจน และสร้างกลไกในการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานเกิน 1 ปี ให้มีการปรับค่าจ้าง

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

“กล้วยไข่” แซมสวนยาง โกยรายได้ เดือนละ1ล้านบาท

     หลายคนอาจนึกถึงแหล่งท่องเที่ยวสวนเกษตรและผลไม้รสอร่อย ในพื้นที่บ้านซำตารมย์ หมู่ที่ 7 ตำบลตระกาจ ซึ่งเปิดฤดูท่องเที่ยวชมสวนเงาะและทุเรียนเป็นประจำทุกปี ระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ในฉบับนี้ ผู้เขียนขอเปลี่ยนบรรยากาศพาท่านผู้อ่านไปชมเส้นทางเที่ยวชมชิมผลไม้รสอร่อย พร้อมชมสวนยางพารา ในพื้นที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ/จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ (เรื่อง)
     เจ้าของสวนไม้ผลผสมผสานรายนี้ ชื่อว่า คุณภู จันทรวงศ์ อายุ 53 ปี อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 148 หมู่ที่ 10 บ้านมหาราช ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110 พี่ภูเล่าให้ฟังว่า ครอบครัวเธอมีที่ดินทำกิน  14 ไร่ ปลูกข้าวโพดไร่เป็นรายได้หลัก หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายจะมีรายได้ ประมาณ 200,000 บาท แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมาก หลังหักต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าน้ำมัน สำหรับไถเตรียมดินแล้ว เหลือรายได้ติดกระเป๋าเพียงแค่ 30,000 บาท ทำแล้วขาดทุน ไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อย

    พี่ภูตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนผลไม้ โดยเน้นปลูกเงาะและทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นหลัก ต่อมาเจอปัญหาเงาะล้นตลาด ขายผลผลิตได้ในราคาถูกมาก แค่กิโลกรัมละ 7 บาท ทำแล้วขาดทุน รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าปุ๋ย ค่ายา พี่ภูจึงโค่นต้นเงาะทิ้งทั้งหมด เหลือแค่ต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และนำไม้ผลอื่นๆ มาปลูกแซม เช่น ลองกอง ส้มโอพันธุ์ทองดี ส้มเขียวหวาน มังคุด และกล้วยไข่ พี่ภูพาเดินชมสวนไปเรื่อยๆ ไปเจอต้นทุเรียนกำลังออกดอกพราวเต็มต้น ขณะที่ต้นถัดไปมีลูกทุเรียนหมอนทองขนาดผลย่อมๆ ที่รอเก็บเกี่ยวในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ใกล้ๆ กันเป็นต้นลองกองและต้นกล้วยไข่ที่กำลังออกเครือใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายในไม่ช้า
      การบำรุงดูแลสวนไม้ผลผสมผสานแห่งนี้พี่ภูจะใส่ปุ๋ยเคมีตราคนเขียว สูตร 21-3-3 ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หว่านรอบโคนต้นไม้ผล ทุกๆ 3 เดือน สำหรับพื้นที่ 14 ไร่ จะใช้ปุ๋ยเคมี ประมาณ 3 กระสอบ พร้อมติดตั้งหัวสปริงเกลอร์ให้น้ำทุกๆ 4-5 เมตร เปิดให้น้ำทุก 1-2 วัน ต่อครั้ง เมื่อถึงช่วงฤดู พ่อค้าจะหาแรงงานมาเก็บผลผลิตเอง ปีที่ผ่านมาเก็บลองกองออกขายได้ ประมาณ 1 ตัน ขายส่งในราคาหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท ส่วนทุเรียน ราคาขายหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาท

ทุกวันนี้ กล้วยไข่ กลายเป็นสินค้าหลักที่สร้างรายได้ก้อนโต ถึงเดือนละ 30,000 บาท พี่ภูบอกว่า กล้วยไข่ เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ลงทุนปลูกแค่ครั้งเดียวอยู่ได้เป็น 10 ปี พี่ภูหาซื้อพันธุ์กล้วยไข่จากเพื่อนบ้านนำมาปลูก ปลูกในระยะ 2x2 เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 350-400 หน่อ ปลูกแค่ 8 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้ เก็บกล้วยไข่ออกขายทุกๆ 15 วัน โดยจะมีพ่อค้าขาประจำเข้ามารับซื้อกล้วยไข่ถึงสวน ในราคากิโลกรัมละ 11 บาท หากตรงกับช่วงฤดูเงาะ ราคากล้วยไข่ก็จะถูกลง เหลือเพียงกิโลกรัมละ 9 บาท ก็ยังมีผลกำไรมากพอที่จะอยู่ได้อย่างสบาย

“ปลูกยางพารา” เพิ่มรายได้อีกทาง       

ปี 2554 ยางพารา ขายได้ราคาดี รัฐบาลจึงมอบหมายให้ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)เปิดรับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 ตาม พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ เพื่อส่งเสริมช่วยเหลือเกษตรกรให้ปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสม รายละ 2-15 ไร่ พี่ภูจึงสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

สกย. จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนปัจจัยการผลิตในระยะ 3 ปีแรก เป็นเงินรวม 3,529 บาท ต่อไร่ โดยแบ่งจ่ายเป็นงวดตามหลักเกณฑ์ที่ สกย. กำหนด ซึ่งประกอบด้วยค่าพันธุ์ยาง ปุ๋ย และเมล็ดพืชคลุมดิน ส่วนที่เหลือปีที่ 4-7 เกษตรกรต้องใช้ทุนเอง หรือขอเข้าร่วมโครงการกับ ธ.ก.ส. โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำสวนยางอย่างถูกหลักวิชาการจาก สกย. ตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการ 
พี่ภูสามารถปลูกยางพาราแซมกับไม้ผลที่อยู่เดิม ในพื้นที่ 14 ไร่ ได้โดยไม่ตัดไม้ยืนต้นเดิมที่มีอยู่ในสวนสักต้นเดียว เพราะไม้ยืนต้นในสวนแห่งนี้ ปลูกในระยะห่าง 8x8 ตารางเมตร ระยะ 9x9 ตารางเมตร และระยะ 10x10 ตารางเมตร จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของต้นยางพารา พี่ภูนำต้นยางพารา พันธุ์ 251และ พันธุ์ 600 มาปลูกแซมในสวนไม้ผล ในระยะ 3x7 เมตร ได้อย่างสบายๆ โดยพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกยางได้ จำนวน 76 ต้น ปัจจุบัน ต้นยางในสวนแห่งนี้อายุ 3 ปีกว่า จะเปิดกรีดได้เมื่อต้นยางอายุครบ 7 ปี  

   การบำรุง ดูแล รักษาสวนยางพารานับจากวันแรกจนถึงวันที่เปิดกรีดได้ ต้องใช้เวลา 6-7 ปี ซึ่งนับว่านานพอสมควร ระหว่างที่รอเปิดกรีดนี้ เป็นช่วงที่มีแต่รายจ่าย แต่พี่ภูรับมือกับปัญหานี้ได้สบายมาก เพราะมีรายได้เสริมจากไม้ที่ปลูกไว้เต็มพื้นที่ 14 ไร่ แห่งนี้  

“เลี้ยงจิ้งหรีด” เพิ่มผลกำไรอีกต่อ

     พี่ภูเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงานมาก เนื่องจากเธอยังเหลือเวลาว่างหลังจากการดูแลสวนยางและไม้ผล จึงลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง โดยลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีด ครั้งละ 5 กล่อง ใช้เงินทุนต่ำ ใช้พื้นที่ไม่มาก สามารถเลี้ยงในบริเวณบ้านได้ การเลี้ยงจิ้งหรีดแต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน ช่วงอากาศร้อนจิ้งหรีดโตเร็ว ใช้เวลาเลี้ยงแค่ 35-40 วัน ช่วงหน้าหนาวจะใช้เวลาเลี้ยงนานหน่อย ประมาณ 50-60 วัน 

       การเลี้ยงจิ้งหรีดทำได้ไม่ยาก เริ่มจากการทำกล่องเลี้ยง ใช้ถาดไข่เป็นรังในการเลี้ยง กล่องหนึ่งใช้ประมาณ 30 ถาด ลงทุนไข่จิ้งหรีด ถาดละ 150 บาท มีตัวประมาณ 3-4 กิโลกรัม ต่อถาด เลี้ยงโดยให้อาหารจิ้งหรีดคือ หัวอาหารจิ้งหรีด ใบมันสำปะหลัง และเศษอาหารอื่นๆ เช่น ฟักทอง เศษผัก ฯลฯ เมื่อคำนวณต้นทุนค่าไข่จิ้งหรีดบวกกับต้นทุนค่าอาหาร จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย กล่องละ 1,000 กว่าบาท เมื่อขายจะมีรายได้ ประมาณ 20,000 บาท ต่อรุ่น ถือว่าได้กำไรก้อนโต หายเหนื่อยกันเลยทีเดียว   

      สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์หารายได้เสริมระหว่างที่ราคายางตกต่ำทาง สกย. ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้เกษตรกรกู้ยืมไปใช้ลงทุน เฉลี่ยรายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน ร้อยละ 2 บาท ต่อปี การอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำดังกล่าว จะพิจารณาจากความพร้อมของตัวเกษตรกร สภาพพื้นที่ รวมทั้งการนำเงินไปใช้ลงทุน ว่ามีศักยภาพแค่ไหน ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ขณะนี้ สกย. จังหวัดศรีสะเกษ กำลังเร่งประชาสัมพันธ์การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำดังกล่าวให้เกษตรกรชาวสวนยางที่สนใจเข้ามาขอใช้บริการมากขึ้น

     นอกจากนี้ สกย. พยายามช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต โดยสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการ เรื่องการผลิตปุ๋ยสั่งตัด เพื่อให้เกษตรกรเลือกใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนยางให้น้อยลง เพื่อจะเหลือผลกำไรเข้ากระเป๋าได้มากที่สุด
หากเกษตรกรรายใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำดังกล่าว สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดศรีสะเกษ เลขที่ 303/21-22 ถนนศรีสะเกษ-ขุนขันธ์ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่บัดนี้ หรือสอบถามทางโทรศัพท์ หมายเลข (045) 617-828 ในวันและเวลาราชการ

ที่มาข่าว: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427529350

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

กว่าจะเป็น"ลุงเฉิน"สวนมะลิออร์แกนิคบางระจัน,มะลิดอกรักสิงห์บุรี-ราคามะลิวันนี้

กว่าจะเป็น"ลุงเฉิน"สวนมะลิออร์แกนิคบางระจัน,มะลิดอกรักสิงห์บุรี-ราคามะลิวันนี้
      พื้นฐานชอบงานด้านไอทีมากถึงมากที่สุด  ทำงานด้านไอที 5ปีเริ่มอิ่มตัว เหนื่อยขึ้นค่าตอบแทนเท่าเดิม มันเสียเวลาของผม  ประกอบที่บ้านทำการเกษตร(ทำนาข้าว)อยู่แล้ว จะหันมาทำสวนผสมผสาน โดยปลูกมะลิแนวอินทรีย์  จำนวนพื้นที่ ไม่ขอตอบจะหยุดปลูกที่ กี่ไร่ 
     เกิดอาการหลงใหลกับพืชชนิดนี้มากๆ มะลิเราขอเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างอาชีพให้ชุมชน นำเงินเข้าจังหวัด สร้างรายได้สู่ประเทศไทย
    คุยเรื่องการปลูกมะลิ ก็ง่ายๆและซ่อนความเจ็บและการแก้ไขปัญหารายสัปดาห์ไว้ให้มากมายสาระพัดปัญหา
    คำแนะนำการปลูกมะลิ 
1.เดือนมกราคถึงเมษายนแต่ละปีควรปลูก
2.คนงานกี่คน
 3.เครื่องจักรใช้อะไรบ้าง  
4.ปัญหาฉุกเฉิน 108 ถ้ามีต้องแก้ไขได้

    ผมเฉินไม่เคยคิดและฝันเรื่องเล็กๆ  การลงมือทำอะไรจะศึกษาของจริงและเขียนลงสมุด และดูในอินเตอร์เน็ต200เว็ป 400หน้า 500เพจ 800กลุ่ม  ก้าวแบบฉลาด  คิดแบบ5ไม่คิดจะหนีปัญหา  ค่าตอบแทนวันละกี่บาท  เครื่องคิดเลขติดตัวตลอด

    การโฆษณาไม่มองข้ามทุกช่องทาง พยายามลงโฆษณาทุกช่องทาง เพื่อให้คนซื้อรู้จักเรามากที่สุด   การขนส่งหลักๆ คือ เครื่องบิน ไว เร็ว ทันใช้งานทั่วโลก


วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

สุดแปลก! "มะนาวนิ้วมือ" เคยเห็นไหม แต่ปลูกง่าย ได้ราคาดี ถ้ารู้ราคาแล้วต้องอยากปลูกแน่นอน

สุดแปลก! "มะนาวนิ้วมือ" เคยเห็นไหม แต่ปลูกง่าย ได้ราคาดี ถ้ารู้ราคาแล้วต้องอยากปลูกแน่นอน

Australia Finger Lime ออสเตเรียฟิงเกอร์ไลม์ หรือ Cavier Lime ถ้าเรียกตามศัพท์ก็คือ มะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์ ตามลักษณะเนื้อที่เหมือนไข่ปลาคาเวียร์
เป็นมะนาวป่าที่มีหลายสายพันธ์ พบบริเวณรอยต่อของ SE Queenland และ Northern NSW"มะนาวนิ้วมือ" หน้าตาแปลกแต่ปลูกง่าย ได้ราคาดีด้วยสนนลูกละ 150-200 บาท หากนำมาตกแต่งอาหาร ดูน่าทานมากขึ้น โดยเฉพาะเอาไว้กินกับอาหารทะเลสด อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ทั้งหลายแหล่ รสออกเปรี้ยวจัดเหมือนมะนาว ใช้แทนกันได้ ใส่ในพวกยำต่างๆได้ และไม่ได้หาได้ง่ายๆ เหมือนกันไร่มะนาวนิ้วที่ออสเตเรีย
ในธรรมชาติแล้วสูงขึ้นไปถึง 6 เมตร ใบเล็กหนามแหลมยาว ผลรูปคล้ายนิ้วมือ มีความยาวสูงสุด 12ซ.ม. ทั่วไปมีสีผลและเนื้อเป็นสีเหลืองเขียว แต่พัฒนาสายพันธ์ุได้เป็นหลากสี/รูปร่าง/ขนาดผลมะนาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย มีเนื้อเป็นเม็ดๆ เป็นถุงน้ำ ขบฟันลงไปจะแตกเปาะๆในปาก ผลและเนื้อในมีกลิ่นหอม อโรม่า แตกต่างจากมะนาวทั่วไป มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ มีหลายสี แต่ละสีจะให้กลิ่นและรสสัมผัสที่แตกต่างกัน หายากและมีราคาแพงมาก
ปัจจุบันมีพ่อค้านำเข้ามาเป็นผลสดจากสวนที่ออสเตรเลียโดยตรง จากนั้นได้คัดเมล็ดมาจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว บรรจุชุดละ 4 เมล็ด : ราคา 99 บาท ณ เดือน ก.พ. 2558 ราคาต่อต้นความสูง 1.5 ฟุต 2,350 บาท ณ เดือน ส.ค. 2557

มะนาวนี้มีชื่อเล่นตามลักษณะของสีสัน 
1. เรด เชมเปญ - เปลือกสีแดง เนื้อในแดงเข้ม นิยมใส่ผสมเชมเปญเพิ่มรสให้เครื่องดื่ม 
2. พิงค์ ไอซ์ - เปลือกสีชมพู เนื้อในชมพู รสนุ่มละมุน 
3. จาลิ เรด - เปลือกสีเขียวอ่อน เนื้อสีแดงใส 
4. เอลตัน กรีน - เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีเขียวมรกต 
5. เทสตี้ กรีน - เปลือกเขียว เนื้อขาวใสความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ เนื้อไม่เกาะติดเปลือกและไม่เกาะติดกันเองด้วย ทำให้เวลาบิผลออกมา เนื้อจึงทะลักเป็นเม็ดๆ ดุจไข่ปลาคาเวียร์ทิมมี่คิดว่า ถ้าหากใครหัวใสจะกล้าลงทุนเป็นรายแรกๆ ก็น่าจะเข้าทีและสนองวลีเด็ดของท่านายก เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 58 ด้วย "ขอให้ทุกบ้านไปปลูกมะนาวในกระถางเอาไว้กินเอง จะได้ไม่ต้องมาบ่น ต้องหัดช่วยเหลือตัวเองกันบ้าง"
ที่มา: https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/photos/pcb.10155402277290085/10155402274625085/?type=1&theater

http://pantip.com/topic/31243650

http://www.thailandfingerlime.com/
ข้อมูลจาก: https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/photo

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา,เปิดอบรมฟรี!! เปลี่ยนผักตบชวาเป็นแก๊สชีวภาพ

ผลิตก๊าซชีวภาพจาก 'ผักตบชวา'

ทำมาหากิน : ผลิตก๊าซชีวภาพจาก 'ผักตบชวา' นำวัชพืชไร้ค่ามาต่อยอดใช้จริง : โดย...ฉัตรสุดา สุวรรณจตุพร

             จากอดีตจนปัจจุบันผักตบชวายังคงเป็นปัญหาสำคัญต่อการไหลของน้ำในแม่น้ำลำคลอง แม้จะมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือจัดการ แต่ก็ยังไม่สามารถลดปัญหาผักตบชวาได้อย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยรศ.ดร.จุรีรัตน์ ลีสมิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)และหัวหน้าโครงการวิจัยด้านทรัพยากรจุลินทรีย์ได้คิดค้นงานวิจัยการผลิตก๊าสชีวภาพจากผักตบชวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมประจำปี 2557  
          "ที่ผ่านมามีการจัดอบรมสอนการทำถังหมัก วิธีการหมักโดยใช้ผักตบชวาผสมกับมูลสัตว์สดและน้ำ อบรมไปแล้วทั้งหมด 3 รุ่น จำนวน 65 คน ผู้เข้ารวมอบรมมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ กรมราชทัณฑ์ อบจ. อบต. และชุมชนต่างๆ ทำให้นำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่อยอดได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด" รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) เผยผลการดำเนิน ซึ่งขณะนี้ทางโครงการมีแนวทางที่จะนำความรู้ไปเผยแพร่โดยการจัดตั้งเป็นหน่วยเรียนรู้ร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ 3 แห่งด้วยกัน คือ ศูนย์สาธิตเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนลาดหลุมแก้ว มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย, ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี แขวงคลองสามวา มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านสะพานดำ จ.ราชบุรี โดยสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  

      "วิธีการผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวาด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง มี 2 ขั้นตอนง่ายๆ คือเริ่มจากนำภาชนะปิดสนิทขนาด 5-20 ลิตรสำหรับเก็บก๊าซและมีก๊อกเปิด-ปิดแบ่งพื้นที่ 4 ส่วนใส่ผักตบชวาที่หั่นหรือบดแล้ว 1 ส่วน มูลสัตว์สด 1 ส่วน น้ำสะอาด 1 ส่วนทั้งไว้ 10-15 วันจากนั้นทดสอบว่ามีก๊าซติดไฟหรือไม่โดยใช้ลูกโป่ง จากนั้นนำมูลสัตว์สดที่ทำให้ก๊าซติดไฟจากขั้นตอนแรกมาหมักในถัง 200 ลิตรโดยใช้อัตราส่วนเช่นเดิม ทิ้งไว้ 10-15 วันจากนั้นทดสอบว่ามีก๊าซติดไฟหรือไม่ โดยต่อเข้ากับวาล์วและหัวแก๊ส" รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ เผยขั้นตอนการผลิต
        อรษา งามนิยม รองประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี แขวงคลองสามวา มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย หนึ่งในผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมผลิตก๊าสชีวภาพจากผักตบชวา กล่าวถึงผลจากการนำไปปฏิบัติจริงในกลุ่มว่า ปกติทางกลุ่มมีการใช้ผักตบชวามาทำปุ๋ยอยู่แล้วเมื่อได้เห็นโครงการจึงสนใจสมัครเข้ามาอบรมเพื่อจะช่วยลดการใช้แก๊ส ช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่สิ่งเหลือใช้ นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถต่อยอดได้  
     ด้าน ดร.อนามัย ดำเนตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์และรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเกี่ยวกับโครงการนี้ว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง ให้ผู้ที่สนใจเพื่อมาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่มีรายได้ไม่เพียงพอ และยังขาดแคลนองค์ความรู้ได้นำกลับไปประยุกต์ใช้ 
      "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นเรามีองค์ความรู้งานวิจัยในทุกศาสตร์ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร ด้านเกษตรหรือวิศวกรรม และพร้อมจะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเราไปสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศต่อไป” 
       นับเป็นอีกก้าวในการนำวัชพืชไร้ค่าอย่างผักตบชวามาใช้ประโยชน์ด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน สนใจสอบถามความรู้เพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยด้านทรัพยากรจุลินทรีย์


วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

“มะม่วงหนองวัวซอ” ไม่พอส่งออก “จีน-ไต้หวัน-เกาหลี” สั่งซื้อไม่อั้น-ราคามะลิวันนี้

ในระยะหลังๆ มะม่วงส่งออกเติบโตดี ... ทำให้ชาวอีสานเริ่มหนีจากยางมามะม่วงแล้ว พี่น้องเอ๋ย .....
          ผลผลิตมะม่วงหนองวัวซอ อุดรธานี ไม่พอส่งออก เหตุอากาศแปรปรวน ผลผลิตออกน้อย ตลาดจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีสั่งซื้อไม่อั้น โกยรายได้ส่งออกปีละ100 ล้าน พันธุ์น้ำดอกไม้สีทองขายดี เกษตรกรทุ่มทุนเจาะบ่อบาดาล-ขุดสระรับมือแล้ง ชาวสวนยางถอดใจหันมาปลูกมะม่วง

        นายธวัชชัย แปรงศรี นายอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ปัจจุบันอำเภอหนองวัวซอมีพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดอุดรธานี โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 5,693 ไร่ เกษตรกรจำนวน 431 ครัวเรือน ซึ่งเป็นผลผลิตทั้งนอกฤดูและในฤดู ประมาณ 3,539 ตัน/ปีมูลค่าประมาณ 127 ล้านบาท
       สำหรับในฤดูผลผลิตปี 2557/58 อำเภอหนองวัวซอได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงจัดทำโครงการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) 202 ราย ผลิตมะม่วงที่มีคุณภาพได้ 75,000 ตัน และส่งออกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง, น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และเขียวเสวยได้ 700 ตัน มูลค่า 36.25 ล้านบาท
        นอกจากนี้อำเภอและหน่วยงานต่าง ๆ ยังได้สนับสนุนให้เกษตรกรมีโอกาสไปจัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลผลิตของตนเองในตลาดต่างประเทศ เช่น เวียดนาม เกาหลี จีน สปป.ลาว ญี่ปุ่น รวมถึงจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงมีรายได้สูงขึ้นเฉลี่ย 230,000 บาทเศษ/ครอบครัว/ปี
      นายเทพพร หิรัฐรัตน์ ประธานภาคอีสาน สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงบ้านห้วยไร่บูรพา ต.อูบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ปีนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและเจอเพลี้ยไฟ ซึ่งไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนในรอบ 20 ปี ทำให้ผลผลิตมะม่วงนอกฤดูตั้งแต่เดือนกรกฎาคมหายไปจากตลาดถึง 60% ทำให้ราคาผลผลิตในตลาดเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมกิโลกรัมละ 80 บาทเป็น 120 บาท
        ขณะที่เอเย่นต์ส่งออกก็รับซื้อผลผลิตไม่อั้น แต่ผลผลิตไม่เพียงพอ โดยเฉพาะตลาดจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ สปป.ลาวนิยมบริโภคมะม่วงพันธุ์สีทองและมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 โดยพันธุ์สีทอง เกรด B ราคากิโลกรัมละ 40 บาท หรือพันธุ์แก้วซ่อนราคากิโลกรัมละ 50 บาท"
"ปีนี้ทางกลุ่มปลูกมะม่วงเพิ่มขึ้น 300 ไร่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเปลี่ยนจากที่นาดอนมาเป็นสวนมะม่วง และเปลี่ยนจากสวนยางพารามาปลูกมะม่วงพันธุ์สีทองประมาณ 100 ไร่"
      ด้านนายบุญช่วย พัฒนชัย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกไม้ผลมะม่วง ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า อากาศที่เปลี่ยนแปลงจากหนาวมาเป็นร้อนกะทันหันสร้างความเสียหายให้มะม่วงนอกฤดูรุ่นสุดท้ายถึง 80% แต่มะม่วงที่กำลังห่อขณะนี้ไม่ได้รับผลกระทบโดยปีนี้พื้นที่ปลูกมะม่วงของกลุ่มเพิ่มขึ้นจาก 3,500 ไร่ เป็น 4,000 ไร่ ซึ่งในตำบลกุดหมากไฟที่ทำสวนยางพาราได้หันมาปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองราว10%
          ส่วนตลาดส่งออกปีนี้ราคาสูงขึ้นกว่าทุกปี 20% จากกิโลกรัมละ 85 บาท เป็น 110 บาท ตลาดที่มาแรงคือเกาหลี เนื่องจากเกาหลีรู้จักมะม่วงพันธุ์สีทองของไทยมากขึ้นและติดใจในผิวและรสชาติ จึงมีสัดส่วนออร์เดอร์เข้ามามากถึง 50% และอีก 50% จะเป็นตลาดจีน รัสเซีย เยอรมนี และเวียดนาม ปีนี้ยังเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง
        ส่วนแนวทางรับมือภัยแล้งนั้น เกษตรกรได้ลงทุนเจาะน้ำบาดาลและขุดสระเพิ่ม อย่างไรก็ตาม คาดว่าอนาคตสวนยางพาราในพื้นที่จะลดลงเรื่อย ๆ แม้จะเปิดกรีดแล้วก็ตาม เพราะมีต้นทุนสูงยาวนาน ขณะเดียวกันต้องลงทุนทุกปี แต่มะม่วงปลูกได้ผลผลิตทุกปี ปัจจุบันจึงมีเกษตรกรสวนยางพาราเริ่มปลูกมะม่วงแซมกับต้นยางพาราและอาจโค่นต้นยาง โดยปีนี้จะมีแนวโน้มที่ชาวสวนยางจะเปลี่ยนมาปลูกมะม่วงเพิ่มอีกประมาณ 10%
ที่มาข่าว:http://money.sanook.com/265333/

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

“ชาวนาชัยนาท” ทดลองปลูกผักคะน้า-กวางตุ้งแทนปลูกข้าวนาปรังช่วงหน้าแล้งได้ผลผลิตงาม-ราคามะลิวันนี้

ที่มาข่าว:http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000027835
“ชาวนาชัยนาท” ทดลองปลูกผักคะน้า-กวางตุ้งแทนปลูกข้าวนาปรังช่วงหน้าแล้งได้ผลผลิตงาม-ราคามะลิวันนี้
ชัยนาท - ชาวนาในตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ทดลองปลูกผักคะน้า-กวางตุ้ง แทนปลูกข้าวนาปรังช่วงหน้าแล้ง กลับให้ผลผลิตงามรายได้ดีกว่าปลูกข้าวหลายเท่าตัว เตรียมขยายแปลงปลูกต่อเนื่อง

       
       หลังจากชลประทานได้หยุดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา และขอความร่วมมือให้เกษตรกรหยุดปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากน้ำต้นทุนมีน้อย ทำให้เกษตรกรในจังหวัดชัยนาท หันไปเพาะปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปอเทือง และพืชผักอื่นๆ รวมกว่า 12,000 ไร่ เนื่องจากใช้น้ำน้อย สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในระยะสั้น และขายได้ราคาดีกว่าปลูกข้าว

       
       นายประทุม เหมหงษา อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ 6 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เปิดเผยว่า ตนเป็นชาวนาปลูกข้าวกว่า 100 ไร่ หลังชลประทานหยุดส่งน้ำให้เพาะปลูกก็หยุดทำนาปรัง แม้ในพื้นที่จะมีน้ำจากบ่อบาดาลที่สามารถใช้ปลูกข้าวได้ แต่ก็เลือกที่จะไม่ปลูกเพราะกลัวไม่คุ้มทุน เนื่องจากราคาข้าวตอนนี้เหลือเพียงตันละ 6,500 บาทเท่านั้น โดยได้ปรึกษากับลูกชายค้นหาพืชชนิดใหม่มาปลูกแทนข้าวที่มีราคาดีกว่า ก็พบว่า ผักคะน้า และผักกวางตุ้งมีราคาดี ปลูกง่าย เก็บขายได้ภายใน 35 วัน และมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงที่ ไม่ต้องออกไปหาตลาดขายเอง 
  จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าว จำนวน 10 ไร่ ให้เป็นแปลงผัก และติดตั้งระบบให้น้ำ ลงทุนไปกว่า 60,000 บาท แบ่ง


    ปลูกผักคะน้า 7 ไร่ กวางตุ้ง 3 ไร่ ซึ่งจากการทดลองปลูกครั้งแรกถือว่าประสบความสำเร็จ ผักทั้ง 2 ชนิดเจริญเติบโตดี แม้จะต้องมีการดูแลต้องให้น้ำมากกว่าการปลูกข้าว แต่ผลผลิตที่ได้รับเป็นที่พอใจมาก
       
       โดยราคาที่พ่อค้าเข้ามารับซื้อผักกวางตุ้ง กิโลกรัมละ 13 บาท ผักคะน้า กิโลกรัมละ 9 บาท คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 4,000 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็นเงินกว่า 400,000 บาท โดยเตรียมขยายแปลงเพาะปลูกเพิ่มเติม และหากเข้าสู่ฤดูฝนก็จะยังปลูกผักต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการปลูกข้าว เพราะผักมีราคาดีกว่าข้าวหลายเท่าตัว 

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ไข่ไก่ล้นตลาด 4 ล้านฟองต่อวัน พณ. จ่อชง 'เอ้กบอร์ด' รับมือ,เช็คราคาดอกมะลิตลาดไท-ปากคลองตลาด

ที่มาข่าว: http://www.thairath.co.th/content/486322

กรมการค้าภายใน เผยไข่ไก่ล้นตลาดวันละ 4 ล้านฟอง เร่งเพิ่มช่องทางระบายช่วยเกษตรกร พร้อมเสนอ “เอ้กบอร์ด” ปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุลกับความต้องการใช้ในประเทศ...
เมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมฯได้ดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้เลี้ยงไก่ไข่จากปัญหาราคา ไข่ไก่หน้าฟาร์มตกต่ำ โดยการเพิ่มช่องทางจำหน่ายและเชื่อมโยงผู้เลี้ยงไก่ไข่ ด้วยการนำไข่ไก่ส่วนเกิน มาจำหน่ายผ่านจุดต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือน ก.ย.57 เพื่อแก้ปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด เพราะประเมินว่าในปีนี้จะมีไข่ไก่ส่วนเกินวันละ 4 ล้านฟอง ล่าสุดจนถึงเดือนก.พ.58 กรมฯได้ช่วยระบายไข่ไก่แล้ว 1.1 ล้านฟอง นอกจากนี้ กรมฯจะเร่งผลักดันการระบายไข่ไก่ผ่านร้านหนูณิชย์.. พาชิม ที่ปัจจุบันมีร้านอาหารปรุงสำเร็จเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 2,000 แห่ง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ไข่ไก่ประกอบอาหารจำนวนมาก
“ผลผลิตไข่ไก่ที่ล้นตลาดมาจากการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 56 เป็นต้นมา ทำให้การเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มขึ้นในผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกกลุ่ม จนส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปีนี้กรมปศุสัตว์และภาคเอกชนประเมินว่าจะมีไข่ไก่ส่วนเกินคงเหลือใน ระบบ 4 ล้านฟองต่อวันทำให้ภาวะการค้าไข่ไก่ชะลอตัว ประกอบกับการบริโภคลดลงในช่วงโรงเรียนปิดเทอมของทุกปีส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละ หน้าฟาร์ม เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน”
สำหรับราคาหน้าฟาร์ม ไข่ไก่ เบอร์ 3 ฟองละ 2.50-2.60 บาท, เบอร์ 0 และเบอร์ 1 ซึ่งเป็นไข่ไก่ขนาดใหญ่และมีสัดส่วนออกสู่ตลาดน้อยนั้น เบอร์ 1 ฟองละ 3-3.10 บาท และเบอร์ 0 ฟองละ 3.30-3.40 บาท
นอกจากนี้ กรมฯได้ผลักดันการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมาต่อเนื่อง เช่น การเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด) ที่มี รมว.เกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน โครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องสมดุลกับตลาด ซึ่งเบื้องต้น กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ประชุมคณะอนุกรรมการภายใต้เอ้กบอร์ด รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว และเตรียมนำเสนอเอ้กบอร์ดพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำต่อไป
ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นการจำหน่ายไข่ไก่ที่ราคาสูงเกินสมควร สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ กรมฯจะส่งส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ หากพบการกระทำผิดจะดำเนินการตามกฎหมายทันที.

ชาวนาร้องผู้ว่าฯ ผ่อนหนี้-ลดดอก

สิงห์บุรี - ตัวแทนชาวนาในพื้นที่อ.บางระจัน 20 คน นำโดยนายสุริยา วงษ์ใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.สระแจง เข้าพบนายชโลธร ผาโคตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี 
ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อยื่นหนังสือขอให้สหกรณ์การเกษตรอำเภอบางระจัน ผ่อนผันการชำระหนี้ออกไปก่อนและลดดอกเบี้ยให้กับชาวนาที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์จนกว่าจะทำนาได้ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูแล้ง และบางส่วนเดือดร้อนจากราคาข้าวตกต่ำและจากศัตรูพืช อีกทั้งประสบปัญหาหนูนาทำลายไร่จนไม่ได้ผลผลิต ทำให้ไม่มีเงินที่จะไปชำระหนี้ได้

       จากนั้น นายชโลธรได้เรียกผู้แทนสหกรณ์สิงห์บุรีมารับทราบปัญหา ซึ่งทางสหกรณ์จังหวัดรับเรื่องที่ชาวนาร้องขอและจะนำไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป 

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

ฉาวอีก!!! เจ้าอาวาสวัดดังเมืองสิงห์บุรี ทิ้งจีวร-นัวสาวจะๆ!!+น้องปลานิล แม่ค้าส้มตำสุดสวย โชว์ลีลาการตำส้มตำ แซ่บอีหลีสุดๆ

ชาวบ้านสิงห์บุรีโวย!! เจ้าอาวาสวัดดัง สลัดจีวรทิ้งลาออกจากตำแหน่ง พบหลักฐานชัด ภาพนัวสาว คาดถูกสาวหลอก พบประวัติหลอกจับผู้ชายรวยๆ…

 วันนี้(8 มี.ค.)มีรายงานว่า ได้มีชาวบ้านจังหวัดสิงห์บุรี มาร้องเรียนผ่านผู้สื่อข่าว สำนักข่าวทีนิวส์ กรณี เจ้าอาวาสวัดดังของจังหวัด ได้หนีออกจากวัด พร้อมทรัพย์สินประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อไปอยู่กินกับสีกาคนหนึ่ง โดยชาวบ้านระบุว่า ผู้หญิงคนดังกล่าว มีประวัติคอยดักจับผู้ชายที่มีฐานะรวยๆ จึงเกรงว่า อาจจะเป็นหลอกลวงและทำให้ทรัพย์สินของวัดเสียหาย รวมทั้งมีภาพที่เป็นหลักฐานว่า พระรูปนี้ อยู่กับสีกาอย่างใกล้ชิด โดยแต่งกายแบบฆารวาส ทั้งที่ยังไม่ได้ลาสิขาบทแต่อย่างใด ขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าพระรูปดังกล่าวอยู่ที่ใด ซึ่งชาวบ้านกำลังเร่งตามหาตัว เพื่อบังคับให้สึกจากการเป็นพระสงฆ์
 ทั้งนี้ พระรูปดังกล่าว เป็นพระนักเทศน์ชื่อดัง ทำให้มีผู้ศรัทธาเดินทางมาทำบุญและบริจาคให้วัดเป็นจำนวนมาก

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

ไล่ออกอาจารย์ มรภ.ศรีสะเกษ คดีล่วงละเมิด นศ.หญิง

ไล่ออกอาจารย์ มรภ.ศรีสะเกษ คดีล่วงละเมิด นศ.หญิง

 นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

ออกแถลงการณ์กรณีอาจารย์ถูกกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศนักศึกษาหญิงเมื่อ 3 เดือนก่อน ล่าสุดทางสถาบันมีคำสั่งลงโทษไล่ออกอาจารย์คนดังกล่าวแล้ว เนื้อหาของแถลงการณ์ส่วนหนึ่งระบุว่า ผลการสอบสวนเป็นไปตามที่ถูกกล่าวหาเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงและผิดข้อ บังคับของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ออกแถลงการณ์ของคณะกรรมการมหาวิทยาลัย เรื่องลงโทษไล่ออก นายฉัตรชัย ไชยโยธา อาจารย์สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลังถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง กรณีกระทำละเมิดทางเพศแก่นักศึกษาหญิงเมื่อ 3 เดือนก่อน ในแถลงการณ์ระบุว่า อาจารย์คนดังกล่าวกระทำผิดวินัยร้ายแรงและประพฤติผิดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ แห่งข้อบังคับของมหาวิทยาลัยจึงลงโทษด้วยการไล่ออกจากราชการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นที่ถูกพักราชการ

ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่ มองว่า แม้จะมีการลงโทษไล่ออก แต่พฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศจากอาจารย์ไม่ควรเกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาของ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 57 โดยนักศึกษาหญิงถูกอาจารย์สถาบันเดียวกัน ล่อลวงเข้ารีสอร์ต โดยเสนอให้เกรด A ในวิชาที่สอนหากนักศึกษายอมมีความสัมพันธ์ด้วย ก่อนที่คณะกรรมการมหาวิทยาลัยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น